การสื่อสารทางการเมืองของสหภาพโซเวียตและผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาในประเทศช่วงทศวรรษที่ 1920-1930

Main Article Content

ปริตต์ อรุณโอษฐ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาททางการเมืองของพุทธศาสนาในสหภาพโซเวียตในช่วงทศวรรษที่ 1920-1930 และ 2) ศึกษาวิเคราะห์กระบวนการสื่อสารทางการเมืองของสหภาพโซเวียตเพื่อต่อต้านพุทธศาสนาในประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว บทความเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลโดยเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลผ่านการพรรณนาความ และตอบให้ตรงตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัย พบว่า ในระหว่างทศวรรษที่ 1920-1930 พุทธศาสนามีความสำคัญต่อสหภาพโซเวียตในหลายลักษณะ โดยในช่วงแรกพุทธศาสนายังไม่ได้รับกระแสต่อต้านและถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการปฏิวัติในภูมิภาคตะวันออกไกล แต่ในภายหลังพุทธศาสนาถูกจัดเป็นภัยคุกคามและสิ่งที่ต้องถูกกำจัดให้หมดไปจากสหภาพโซเวียตเช่นเดียวกับศาสนาอื่น ทั้งนี้กระบวนการสื่อสารทางการเมืองของสหภาพโซเวียตในการต่อต้านพุทธศาสนาประกอบด้วย 1) ผู้ส่งสาร: หน่วยงานภายใต้ชื่อ “สหภาพนักต่อสู้อเทวนิยม” 2) สาร: ประกอบไปด้วยสารที่ระบุถึงพุทธศาสนาในฐานะสิ่งที่ขัดขวางความเจริญก้าวหน้า สารที่กล่าวโจมตีไปยังบุคคลที่เกี่ยวข้องทางศาสนา สารที่เชื่อมโยงพุทธศาสนากับความเป็นศัตรูทั้งในและจากนอกประเทศ 3) สื่อหรือช่องทาง: สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปวารสาร หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ทางการเมือง รวมถึงการจัดบรรยายและการประชุมวิชาการเพื่อการต่อต้านศาสนาพุทธศาสนา 4) ผู้รับสาร: ประชาชนชาวโซเวียตที่นับถือพุทธศาสนาในเมืองบูเรียเทีย เมืองคัลมืยเคีย และเมืองตูวา 5) ผลกระทบ: ในภาพรวมยังไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนความเชื่อของผู้คนในท้องถิ่นได้ให้เข้าเป็นสมาชิกในหน่วยงานของรัฐและเลิกนับถือศาสนาได้ 6) ผลย้อนกลับ: การตระหนักถึงความล้มเหลวในการผลักดันกระแสการต่อต้านพุทธศาสนาในเมืองพุทธต่าง ๆ ในโซเวียตของพรรคคอมมิวนิสต์และสหภาพนักต่อสู้อเทวนิยม ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นกรณีศึกษาถึงการศึกษาประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนากับอุดมการณ์ทางการเมืองได้

Article Details

How to Cite
อรุณโอษฐ์ ป. . (2023). การสื่อสารทางการเมืองของสหภาพโซเวียตและผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาในประเทศช่วงทศวรรษที่ 1920-1930 . วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 131–148. https://doi.org/10.14456/jra.2023.134
บท
บทความวิจัย

References

ธัญญา ใยทอง. (2548). กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของสาขาพรรคประชาธิปัตย์. (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นนทวุฒิ ราชกาวี. (2557). ความเชื่อแบบพุทธไทยในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2508-2519. วารสารประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 1(2), 101-139.

นันทนา นันทวโรภาส. (2558). สื่อสารการเมือง: ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ : แมสมีเดีย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). แก่นแท้ของพระพุทธศาสนา. เข้าถึงได้จาก https://www. tungsong.com/e_Library/data/แก่นแท้พุทธศาสนา.htm

พัททดล เสวตวรรณ และพระครูอุทัยกิจพิพัฒน์. (2565). การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมือง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(2), 377-389.

ยุทธพร อิสรชัย. (2559). แนวคิดการสื่อสารทางการเมือง. เอกสารประกอบการสอน หน่วยที่ 8. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วาสนา วงศ์สุรวัฒน์. (2564). พหุวัฒนธรรมกับการปฏิวัติ: ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับขบวนการทางสังคมแนวพุทธ. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 21(1). 238-268.

Berio, D. K. (1960). The Process of Communication. New York : Holt, Rihehart and Winston, Inc.

Kishkina, A. (2021). Антирелигиозная пропаганда на страницах журнала «Безбожник». Retrieved from https://dspace.cuni.cz/bitstream/handle/ 20.500.11956/124999/120382071.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Lasswell, H. D. (1948). The Structure and Functional of Communication in Society. The Communication of Ideals. New York : Harper and Row Publishers.

Marx Engels Archive. (1932). Karl Marx: Economic and Philosophic Manu-scripts of 1844. Retrieved from https://www.marxists.org/archive/marx/works/1844/ manuscripts/comm.htm

Rogers, E. M. (1973). Communication Strategies for Family Planning. New York : Free Press.

Siebert, F. S., Peterson, T & Schramm W. (1963). Four Theories of the Press: The Authoritarian, Libertarian, Social Responsibility, and Soviet Communist Concepts of What the Press Should Be and Do. Illinois : University of Illinois Press.

Балдано, М.Н. & Соболева, А.Н. (2014). Деятельность союза воинствующих безбожников в Бурят-монгольской АССР. Современные проблемы науки и образования, 4, 1-8.

Всесоюзный съезд буддистов (обновленцев). (1927). Антирелигиозник, 3, 48-49.

Дорджиева, Г. Ш. (2001). Буддийская церковь в Калмыкии в конце XIX - первой половине XX века. М. : ИРИ РАН.

Синицин, Ф. Л. (2014). Буддизм в СССР: попытка обновления в 1920-х гг. Retrieved from https://elar.urfu.ru/bitstream/10995/37857/1/978-5-7741-0224-2_2014_56.pdf

Синицын, Ф. Л. (2012а). Антибуддийская деятельность Союза воинствующих безбожников (1925-1941). Информационная безопасность регионов, 1(20), 153-157.

Синицын, Ф. Л. (2012б). Антибуддийская пропаганда в СССР в 1925-1946 гг.. Вопросы истории, 7, 65-76.

Скрыникова, Т. Д. (2003). Традиционная культура и в самоидентификации Бурят. Религия и идентичность в России,121-153.

Трикстер. (2021). Сколько верующих было в СССР в 1937 году?. Retrieved from https://dzen.ru/media/trickster/skolko-veruiuscih-bylo-v-sssr-v-1937-godu-61910ee49380933c07f23acd