การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

พระครูพิพัฒน์สุตคุณ
พระราชสิทธิเวที
พระครูใบฎีกาสุวินทร์
พระมหาศุภฤกษ์ สุภทฺทจารี
วิชิต ไชยชนะ
นพวรรณ์ ไชยชนะ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ 2) ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ และ 3) พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ใช้เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ   เลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มอาชีพ ในชุมชนวัดหาดมูลกระบือ 5 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์  เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และชุดกิจกรรมกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ศักยภาพเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร มีการสืบสานและการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมโดยการเพิ่มมูลค่า การสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน ในพื้นที่โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลางเพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจผ่านประเพณีต่างๆ ที่สัมพันธ์กับวัด แม่น้ำน่าน และทรัพยากรป่าไม้ 2) การส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชน วัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร มีการจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน Business Model Canvas (CBMC) แบบจำลองทางธุรกิจเพื่อชุมชน แผนดำเนินงานที่ใช้สำหรับธุรกิจเพื่อชุมชน และปฏิทินงานเพื่อใช้ในการควบคุมให้งานเดินไปตามเป้าหมายของชุมชน มีการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนตาม กรอบความคิด TERMS MODEL ที่ชุมชนจะพึ่งตนเองได้ และ 3) การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจฐานรากด้วยการสร้างเครือข่ายชุมชนเชื่อมโยงหลากหลายอาชีพ ประยุกต์ใช้แนวคิดทางพระพุทธศาสนา โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลาง ผลักดันให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีพุทธ กระตุ้นให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ

Article Details

How to Cite
จำนิล พ., วะสะศิริ พ., สอนเล็ก พ., สีวันคำ พ. ส., ไชยชนะ ว. ., & ไชยชนะ น. (2023). การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากวิถีพุทธเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนวัดหาดมูลกระบือ อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 1–14. https://doi.org/10.14456/jra.2023.125
บท
บทความวิจัย

References

กฤชวัฒน์ จิตวโรภาสกูล, เอื้อมพร ศิริรัตน์, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล และสโรชินี ศิริวัฒนา (2565). ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ต่อธุรกิจร้านอาหาร ในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(2), 212-225.

ธนชาติ โชติธนนันท์และกฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์. (2562). ศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 113-128.

นิสา บุญทะสอนและคณะ (2557). การพัฒนาการตลาดและการท่องเที่ยวของธุรกิจชุมชนสู่วิสาหกิจชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท. วารสารจันทรเกษมสาร, 20(39), 39-48.

บุหงา ชัยสุวรรณ และคณะ (2562). ปัจจัยพยากรณ์ความสำเร็จในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในชุมชน: กรณีศึกษาจังหวัดชายแดน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(53), 87-108.

พระครูพิจิตรวรเวท และคณะ. (2564). รูปแบบการมีส่วนร่วมของวัดและชุมชนในการอนุรักษ์ประเพณีการแข่งขันเรือยาวจังหวัดพิจิตร. วารสารวิจยวิชาการ, 6(1), 51-62.

พระปลัดสุระ ญาณธโร (จันทึก) และคณะ. (2565). บทบาทของสภาองค์กรชุมชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์.

อุทิศ ทาหอม และคณะ (2562). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบมีส่วนร่วมของกลุ่มน้ำพริกบ้านบัว ตำบลบ้านบัว อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 38(1), 19-42.