การพัฒนานักสื่อความหมายท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนไทยอง ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ชนิษฐา ใจเป็ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทรัพยากรของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนไทยอง และ 2) เสนอแนวทางการพัฒนานักสื่อความหมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนไทยอง ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสำรวจทรัพยากร และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้มีสวนได้ส่วนเสียในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยว จำนวน 32 คน การเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย โดยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัยวิเคราะห์เนื้อหาและผู้วิจัยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุมชนไทยองมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่น เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และภูมิปัญญา เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่สนใจในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเรียนรู้ภูมิปัญญาต่าง ๆ ได้เข้ามาสัมผัสวิถีชาวยอง ครบถ้วน โดยมีวัดป่าตาลเป็นจุดศูนย์รวมของชุมชน และ 2) แนวทางการพัฒนานักสื่อความหมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนไทยอง ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวความคิดหลักในการสื่อความหมายนําเสนอผ่านตัวอักษรเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยว การพัฒนานักสื่อความหมาย และการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ PATAN MODEL (ป่าตาลโมเดล โดย P: Planning, A: Access, T: Technology, A: Active Participate, N: nation) ซี่งถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนานักสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนให้เกิดความยั่งยืนต่อไป

Article Details

How to Cite
ใจเป็ง ช. (2023). การพัฒนานักสื่อความหมายท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนไทยอง ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจยวิชาการ, 6(5), 283–296. https://doi.org/10.14456/jra.2023.117
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ. 2561-2564 กรมการท่องเที่ยว. กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา. (อัดสำเนา)

นภารัตน์ อยู่ประเสริฐ. (2561). แนวทางการพัฒนาการสื่อความหมายในแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ กรณีศึกษา: อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์. คณะการจัดการการท่องเที่ยว : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เบญญา จริยวิจิตร และเกสสิณี ตรีพงศ์พันธ์. (2561). การพัฒนานักสื่อความหมายการท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนบ้านส้อง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 6(2), 221-256.

ประสารโชค ธุวะนุติ และชนัด เผ่าพันธุ์ดี. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในตำบลบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 39-45.

พระครูถิรบุญวัฒน์. (2564, 12 มกราคม). การพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพจากผลิตภัณฑ์สมุนไพรภูมิปัญญาล้านนาของผู้สูงอายุในชมรมสมุนไพรจาวยอง วัดป่าตาล ตำบลบวกค้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่. (อัจฉราภรณ์ สนามพล, ผู้สัมภาษณ์)

พัชรมณฑ์ พร้อมเพียรพันธ์ และสยาม ดำปรีดา. (2565). การจัดการการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมชุมชนไทหล่มในเขตเทศบาลเมืองหล่มสัก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 215-224.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2560). แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2560-2564 . เข้าถึงได้จาก https://www.soc.go.th/wp-content/uploads/2019 /02/StrategicPlan60-64.pdf

Cohen, L. & Manion, L. (1994). Research Methods in Education. (4th ed.). London : Routledge.

Miles, M.B. & Huberman, A.M. (1994). Qualitative data analysis: an expanded sourcebook. Washington DC : Sage Publications, Inc.

Patton, M. Q. (1990). Qualitative Evaluation and Research Methods. (2nd ed.). Washington DC : Sage Publications, Inc.

Rubin, H. & Rubin, I. (1995). Qualitative interviewing: The art of hearing data. Thousand Oaks, CA : Sage.

Spradley, J. P. (1979). The ethnographic interview. New York : Holt, Rinehart & Winston.