การถูกตีตราพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยของนักเรียนจากเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมด้านจิตพิสัยของโรงเรียนในระบบของไทย

Main Article Content

ณภัสนันธ์ เดชาวัตสินสิริ
สุเมษย์ หนกหลัง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของผู้ถูกตีตราพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยจากเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมด้านจิตพิสัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาเรื่องเล่า ใช้การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลด้วยวิธีการแบบเฉพาะเจาะจง ผู้วิจัยจึงได้ใช้แนวทางการพูดคุยสนทนาในลักษณะกึ่งโครงสร้าง ในการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูล จำนวน 15 คน โดยเป็นผู้ที่เคยมีประสบการณ์การถูกตีตราพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยจากเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมด้านจิตพิสัยและสามารถเล่าประสบการณ์เมื่อครั้งยังเป็นนักเรียนในระบบโรงเรียน เพื่อสะท้อนความเป็นจริงจากประสบการณ์ที่พวกเขาประสบ ผลการวิจัย พบว่า ประเด็นของประสบการณ์ของนักเรียนที่เคยถูกตีตราเป็นการใช้อำนาจของการประเมินเข้าไปจัดการดูแลควบคุมเหนือร่างกายด้วยการกำหนดในระเบียบของการประเมินพฤติกรรมด้านจิตพิสัยที่ใช้เทคนิควิทยาต่าง ๆ ผ่านวินัยของกฎระเบียบมีลักษณะสำคัญ 4 ประเด็น ดังนี้ ถูกตัดสินว่าไม่เก่งจากการแสดงพฤติกรรมด้านคุณลักษณะไม่เป็นไปตามความคาดหวัง ถูกจับจ้องว่าต่อต้านจึงถูกมองว่าเรียนไม่เก่ง การแสดงพฤติกรรมไม่ตรงเพศถูกตีตราว่าไม่เก่ง และถูกมองว่าไม่เก่งทั้งที่เลือกตามความชอบ การประเมินนักเรียนจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของการประเมินที่ถูกใช้เพื่อสร้างให้เกิดพฤติกรรมของนักเรียนให้เป็นไปตามความคาดหวังของสังคมส่งผลให้เกิดการตีตราจากการประเมินไม่ตรงตามพฤติกรรม 

Article Details

How to Cite
เดชาวัตสินสิริ ณ. ., & หนกหลัง ส. . (2023). การถูกตีตราพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัยของนักเรียนจากเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมด้านจิตพิสัยของโรงเรียนในระบบของไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 6(5), 255–268. https://doi.org/10.14456/jra.2023.115
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการสำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2564). จิตวิทยาสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2560). วาทกรรมการพัฒนา : อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : วิภาษา.

เบญจวรรณ บุญโทแสง. (2560). ความเป็นอื่นบนวาทกรรมการพัฒนาในวิถีชุมชนมอแกน. วารสารสังคมศาสตร์ นิติศาสตร์คณะนิติศาสตร์ ราชภัฏร้อยเอ็ด, 1(1), 31-60.

เบญจวรรณ อุปัชฌาย์. (2564). นายทหารพัฒนา: กระบวนการสร้างนักพัฒนาของกองทัพบก. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 8(2564), 79-94.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2556). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Bernburg, J. G., Kroh, M. D., & Rivera, C. J. (2006). Official Labelling Theory. Journal of Research in Crime and Delinquency, 43(1), 67-88.

Bold, C. (2012). Using Narrative in Research. London : Sage.

Creswell, J.W. (2008). Quantitative and Qualitative. (3rd ed). Ohio : Pearson Prentice Hall.

Danaher, G., Schirato, T. & Webb, J. (2000). Understanding Foucault (Cultural Studies Series). Sydney : Allen & Unwin.

Erikson, E. H. (1966). Eight ages of man. International Journal of Psychiatry, 2(3), 281-300.

Foucault, M. (2001). Power: Essential Works of Foucault 1954-1984. Translated by Robert Hurley and others. London: Penguin Books. Works of Michel Foucault V.1 Ethics: Subjectivity and Truth. New York : The New Press.