ปฏิรูปเทสที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระกฤษฎา สุเมโธ (สารนอก)
ศิริโรจน์ นามเสนา

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักปฏิรูปเทสที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธ ศาสนาเถรวาท ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงความหมายของปฏิรูปเทส ปฏิรูปเทสวาสที่ปรากฏในพระไตร ปิฎก ลักษณะและองค์ประกอบของการอยู่ในปฏิรูปเทส ความสำคัญของการอยู่ในปฏิรูปเทส การอยู่ในปฏิรูปเทสในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท หลักปฏิรูปเทสที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมกล่าว คือ การได้เกิดเป็นมนุษย์มีอัตภาพที่สมบูรณ์เบื้องต้นและประเด็นต่อไป คือ การได้อยู่ในถิ่นที่เหมาะสมภายนอก ซึ่งมีลักษณะส่งเสริมการปฏิบัติธรรมดังนี้ 1) มีศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมโดยอิงหลักสังคหวัตถุ 4 2) มีระบบด้านการศึกษาที่ดี 3) มีอาชีพที่สุจริตมั่นคงอิงหลักฆราวาสธรรม 4 4) มีศาสนาประกาศสัจจธรรม และ 5) มีผู้ทรงศีลผู้ทรงธรรมผู้ทรงวิทยาคุณ หากไม่ได้เกิดในปฏิรูปเทสแล้วจะทำให้ไม่ได้รับการศึกษา ความเป็นอยู่ไม่ดี การปฏิบัติธรรมก็เนิ่นช้า

Article Details

How to Cite
พระกฤษฎา สุเมโธ (สารนอก), & นามเสนา ศ. . (2024). ปฏิรูปเทสที่ส่งเสริมการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา. วารสารวิจยวิชาการ, 7(2), 373–388. https://doi.org/10.14456/jra.2024.53
บท
บทความวิชาการ

References

ทวี ภุมรินทร์. (2545). มงคลชีวิต. กรุงเทพฯ : สหธรรมมิก.

ปิ่น มุทุกันต์. (2535). มงคลชีวิตภาค 1 ประมวลความก้าวหน้าตามแพวพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์. (2556). หลักปฏิบัติมงคล 38 ประการของคนดี. กรุงเทพฯ : ธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2543). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตฺวณฺโณ). (2548). อุดมมงคลในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร). (2535). มงคลยอดชีวิต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

สมเด็จพระสังฆราช (อุฏฐายีมหาเถร). (2523). มงคลในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนกิตติวรรณ.