การบริหารจัดการลวดลายผ้าไหมมัดหมี่อย่างยั่งยืน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการลวดลายผ้าไหมมัดหมี่อย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และ 3) นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการลวดลายผ้าไหมมัดหมี่อย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นการวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ดำเนินการเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 340 ตัวอย่าง ใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อตรวจสอบความตรงตามกรอบแนวคิดในการวิจัยด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 20 คน เพื่อยืนยันรูปแบบหลังจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณแล้ว ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการลวดลายผ้าไหมมัดหมี่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.10, S.D.= 0.576) และเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยคือ การบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อส่งเสริมพัฒนา การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ด้านการตลาด การสร้างกลุ่มช่างทอผู้สืบทอด และการสร้างนวัตกรรมผ้าไหมมัดหมี่ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการลวดลายผ้าไหมมัดหมี่อย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น พบว่าผลการตรวจสอบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square = 123.37, df = 110, p-value = 0.181 RMSEA = 0.018) โดยการบริหารจัดการลวดลายผ้าไหมมัดหมี่อย่างยั่งยืนมีความสัมพันธ์กับอำนาจการซื้อของผู้บริโภค = 0.88, การสร้างผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ = 0.80, ภูมิปัญญาท้องถิ่น = 0.85, และบริบทชุมชน = 0.75 และ 3) แนวทางการบริหารจัดการลวดลายผ้าไหมมัดหมี่อย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น โดยอาศัยบริบทชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างผลิตภัณฑ์ผ้าไหมมัดหมี่ที่เป็นเอกลักษณ์ มีความทันสมัย และส่งเสริมการตลาดเพื่อสร้างความต้องการให้กับผู้บริโภค
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
ประภาศรี ถนอมธรรม. (2561). คุณค่าอัตลักษณ์ของผ้ามัดหมี่ฟื้นเมืองของจังหวัดชัยภูมิ. รมยสาร,16(2), 33-54.
ปิลันลน์ ปุณญประภา และคณะ. (2561). ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาต่อภูมิปัญญาและการสืบทอดผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่ จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 159-168.
เผ่าทอง ทองเจือ และกิตติกรณ์ นพอุดมพันธุ์. (2559). มัดหมี่ สายสัมพันธ์แห่งเอเชีย. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน).
สวัสดิ์ แก้วแบน. (2562). ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมลายโบราณของชุมชนบ้านแกใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ มจร บุรีรัมย์, 4(1), 71-85.
สำนักอนุรักษ์และตรวจสอบมาตรฐานหม่อนไหม. (2565). ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท. เข้าถึงได้จาก https://qsds.go.th/silkcotton/k_8.php
สิทธิชัย สมานชาติ. (2562). มรดกภูมิปัญญาสิ่งทออีสาน. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สิริชัย ดีเลิศและสุภาวดี รัตนพงศ์พันธ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มผู้บริโภคตลาดเฉพาะกลุ่ม. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป). คณะวิทยาการจัดการ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุภางค์พิมพ์ คล้ายธานี. (2562). การบริหารจัดการผ้าทอพื้นเมืองเพื่ออัตลักษณ์ที่โดดเด่นในอาเซียน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(3), 1232-1248.
หทัยรัตน์ บุณยรัตพันธุ์ เงินทอง. (2558). ปัญหาของกลุ่มผลิตผ้าไหมมัดหมี่ในตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 9(1), 100-117.
Lindeman, R. H., Merenda, P. F., & Gold, R. Z. (1980). Introduction to Bivariate and Multivariate Analysis. Retrived from http:// www. llinois.com/content/apl
WESMILE MAGAZINE. (2564). ผ้ามัดหมี่ขอนแก่น งามผ้าไทย ลือไกลไปทั่ว. เข้าถึงได้จาก http://wesmilemagazine. com/khon-kaen-mudmee-worlds-renowned-thai-fabrics/