รูปแบบการจ้างงานที่เหมาะสมกับพฤฒพลังของกลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ (Active Aging) เพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

สิริมาส หมื่นสาย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) บริบทและสภาพการจ้างงานที่เหมาะสมของกลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ 2) นำเสนอรูปแบบการจ้างงานที่เหมาะสมกับพฤฒพลังของกลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ และ 3) พัฒนารูปแบบการจ้างงานที่เหมาะสมกับพฤฒพลังของกลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ เพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ จังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้การวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้จำนวน 400 คน จากตัวแทนประชากร 115,047 คน ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้สูงอายุ 30 คน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 หน่วยงานวิเคราะห์ข้อมูลใช้การตีความหรือการแปลความจากบทสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) บริบทและสภาพการจ้างงานที่เหมาะสม พบว่า การจ้างงานในปัจจุบันนั้นมีการจ้างงานในอาชีพอิสระเหมาะสมกับพื้นที่ ระยะทางการเดินทางที่สามารถเดินทางเองได้ ลักษณะการจ้างงานเป็นไปตามความชำนาญของผู้สูงอายุเช่นงานด้านฝีมือ ช่างฝีมือต่าง ๆ 2) รูปแบบการจ้างงานที่เหมาะสมกับพฤฒพลังของกลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ เพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า รูปแบบการจ้างงานที่เหมาะสมนั้นต้องคำนึงถึงสุขภาพของผู้สูงอายุ รายได้ที่เกิดขึ้น ความมั่นคงในการทำงานและความมั่นคงในการดำเนินชีวิต และการจ้างงานนั้นต้องมีกระบวนการมีส่วนร่วมในสังคมเกิดขึ้นด้วย และ 3) พัฒนารูปแบบการจ้างงานที่เหมาะสมกับพฤฒพลังของกลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ เพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ จังหวัดนครสวรรค์พบว่าควรพัฒนาเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาในการทำงาน การจ้างงาน การเข้าทำงาน การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสร้างรายได้ เพื่อให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าในตัวเอง และได้รับการยอมรับจากสังคม

Article Details

How to Cite
หมื่นสาย ส. . (2023). รูปแบบการจ้างงานที่เหมาะสมกับพฤฒพลังของกลุ่มผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองได้ (Active Aging) เพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 6(5), 91–104. https://doi.org/10.14456/jra.2023.105
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ : เทพเพ็ญวานิสย์.

กุศล สุนทรธาดา และกมลชก ขำสุวรรณ. (2553). ระดับและแนวโน้มความมีพฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมนักประชากรไทย.

นภาภรณ์ หะวานนท์ และธีรวัลย์ วรรธโนทัย. (2552). ทิศทางใหม่ของการพัฒนาการอยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในสังคมไทย. กรุงเทพฯ : พลัสเพรส.

บรรลุ ศิริพานิช. (2550). คู่มือผู้สูงอายุ: ฉบับเตรียมตัวก่อนสูงอายุ (เตรียมตัวก่อนเกษียณการงาน). กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.

ปณิธี บราวน์. (2557). พฤฒพลัง: บทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุ และ “ทุน” ที่ใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านผู้สูงอายุ. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 30(3), 97-120.

ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2555). พฤฒิพลังของผู้สูงอายุไทยการปันผลทางประชากรและโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในสังคมสูงวัย. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา, 4(7), 201-214.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2551). การศึกษาวิจัยแนวทางและมาตรการ ส่งเสริมการมีงานทำในผู้สูงอายุ (รายงานฉบับสุดท้าย). โครงการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การ พัฒนาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ไปสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภจักษ์ แสงประจักษ์สกุล. (2558). ปัจจัยกำหนดระดับวุฒิวัยของผู้สูงอายุไทย. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 21(1), 139-167.

อุษา โพนทอง. (2556). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาภาวะพฤฒพลังของข้าราชการกองทัพไทยตามแนวคิดวิทยาการผู้สูงอายุด้านการศึกษาและการเรียนรู้จากประสบการณ์. (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน). คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Thanakwang, K., & Soonthorndhada, K. (2006). Attributes of active ageing among older persons In Thailand: Evidence from the 2002 survey. Asia-Pacific Population Journal, 21(3), 113-135.