อนาคตภาพการนิเทศการศึกษา สำหรับศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาในทศวรรษหน้า: กรณีสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)

Main Article Content

พัสฏาพรห์ คำจันทร์
ทักษ์ อุดมรัตน์
วรินทร บุญยิ่ง
อัจฉรา ศรีพันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของการนิเทศการศึกษา และ 2) ศึกษาอนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในทศวรรษหน้า: กรณีสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ EDFR (Ethnographic Delphi Future Research) จากการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์แบบสอบถามจากข้อมูลความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน ซึ่งเป็นศึกษานิเทศก์ที่มีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษขึ้นไป ผู้มีประสบการณ์ในการนิเทศการศึกษา สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไป มีประสบการณ์ในการนิเทศการศึกษาในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา และเป็น Coding Mentor ในระดับประถมศึกษา ตามคำสั่งของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2 รอบ ใช้สถิติในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาของการนิเทศการศึกษา สำหรับศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในทศวรรษหน้า: กรณีสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1.1) การวางแผนการนิเทศการศึกษา 1.2) การสร้างเครื่องมือการนิเทศการศึกษา 1.3) การปฏิบัติการนิเทศการศึกษา และ 1.4) การประเมินผลการนิเทศการศึกษา  และ 2) อนาคตภาพการนิเทศการศึกษา สำหรับศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในทศวรรษหน้า: กรณีสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตามฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนการนิเทศการศึกษา ควรสร้างทีมในการนิเทศ ด้านการสร้างเครื่องมือการนิเทศการศึกษา ควรเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหา ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้านการปฏิบัติการนิเทศการศึกษา ควรมีการสรุปผลการนิเทศ/สะท้อนผลการนิเทศ (AAR) ให้ผู้นิเทศได้ทราบ โดยใช้คำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้รับการนิเทศได้แสดงความคิดเห็น ด้านการประเมินผลการนิเทศการศึกษา ควรนำผลการนิเทศที่เป็นปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะไปพัฒนาการนิเทศในครั้งต่อไป

Article Details

How to Cite
คำจันทร์ พ. ., อุดมรัตน์ ท., บุญยิ่ง ว. ., & ศรีพันธ์ อ. . (2023). อนาคตภาพการนิเทศการศึกษา สำหรับศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาในทศวรรษหน้า: กรณีสาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ). วารสารวิจยวิชาการ, 6(5), 59–74. https://doi.org/10.14456/jra.2023.103
บท
บทความวิจัย

References

กัมปนาท สุ่มมาตย์. (2563). แนวทางการพัฒนาศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาให้เกิดสมรรถนะที่เหมาะสมสำหรับทศวรรษหน้า. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์. (2547). นวัตกรรมการศึกษาชุดการนิเทศเพื่อปฏิรูปการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : 21 เซนจูรี่.

นพพรพรรณ ญาณโกมุท. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study). (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษาและการเรียนรู้). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2545). พื้นฐานการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สุวีริยาส์น.

ราณี กุยรัมย์. (2554). ปัญหาและแนวทางการนิเทศภายในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ศิริเดช เทพศิริ. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครู. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือการใช้หลักสูตร สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หน่วยศึกษานิเทศก์. (2559). กระบวนการในการนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). การวิจัยและพัฒนานโยบายการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สิรดา สายเพ็ชร. (2554). กลยุทธ์การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพครูของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หน่วยศึกษานิเทศก์. (2564). ศาสตร์และศิลป์ในการนิเทศ. (อัดสำเนา)

อดุลย์ วงค์ก้อม. (2551). รูปแบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Behlol, M.G. (2011). Concept of Supervision and supervisory Practice at Primary Level in Pakistan. International Education Studies, 4(4), 428-435.