การศึกษาเปรียบเทียบหลักความเสมอภาคตามหลักทั่วไปของรัฐธรรมนูญ และหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดเรื่องหลักความเสมอภาคตามหลักทั่วไปของรัฐธรรมนูญ 2) ศึกษาแนวคิดเรื่องหลักความเสมอภาคตามหลักพุทธธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) เปรียบเทียบหลักความเสมอภาคตามหลักทั่วไปของรัฐธรรมนูญ และหลักพุทธธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากเอกสาร ข้อมูลและหนังสือตำราวิชาการ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายของต่างประเทศ กฎหมายไทย และพระสูตรต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับหลักความเสมอภาคนั้น พบว่า เป็นแนวคิดที่เกี่ยวกับการไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล ความเสมอภาคของบุคคลตามรัฐธรรมนูญนั้นมี 5 ประการด้วยกัน คือ 1.1) ความเสมอภาคด้านศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 1.2) ความเสมอภาคด้านโอกาสทางสังคมและการดำรงชีพ 1.3) ความเสมอภาคด้านกฎหมายและพระวินัย 1.4) ความเสมอภาคด้านสิทธิพลเมือง และ 1.5) ความเสมอภาคด้านการเมือง 2) ส่วนหลักความเสมอภาคตามหลักพุทธปรัชญานั้นใช้หลักกรรมแทนหลักพรหมนิรมิต ซึ่งมหาตมะ คานธี เรียกร้องสิทธิความเสมอภาคโดยผ่านวิธีการที่เรียกว่าสัตยสังคหะหรือการทดลองความจริง และแนวคิดต่อต้านระบบวรรณะของดร.บาบา สาเหบ พิมเรา รามจิ อัมเบดการ์ ซึ่งอุทิศตนต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความเท่าเทียมให้กับเพื่อนร่วมชาติพันธุ์ แนวคิดของอัมเบดการ์นั้น ผู้วิจัยเห็นว่า สอดคล้องกับแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ ที่มีจุดกำเนิดแนวคิดความเสมอภาคเริ่มต้นด้วยการนำเอาหลักปรัชญา “จิตนิยมวิภาษวิธี” ของเฮเกลมาประยุกต์ใช้ นอกจากนี้ ยังพบว่า หลักนิติธรรมของอัลเบิร์ต เวนน์ ไดซีย์ ประกอบด้วยหลักการใหญ่ 3 หลักด้วยกัน คือ (1) หลักความชอบด้วยกฎหมาย (2) หลักความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย และ (3) หลักการคุ้มครองสิทธิของปัจเจกชน โดยศาลนั้น เป็นหลักที่ก่อให้เกิดความยุติธรรมในสังคม 3) เมื่อเปรียบเทียบหลักความเสมอภาคมีจุดยืนรวมกันในเรื่อง “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” มีมุมมองว่าทุกคนเกิดมามีความเสมอภาคเท่าเทียมกันตามธรรมชาติเหมือนกันเสมอกัน แต่แตกต่างกันในทางสังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2543). หลักพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2561). หลักกฎหมายมหาชน หลักนิติธรรม/นิติรัฐ ในฐานะ “เกณฑ์” จำกัดอำนาจ. (พิมพ์ครั้ง 2). กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
วิระยา พิมพ์พันธ์. (2563). ความเสมอภาค: ตามแนวคิดประชาธิปไตยมีอยู่จริงหรือในพระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(3), 17-18.
วี.ไอ. เลนิน. (2523). คราร์ล มาร์กซ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บริษัทสามัคคีสาร.
สมภาร พรมทา. (2539). ปรัชญาสังคมและการเมือง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.