การพัฒนากระบวนการทำงานที่สร้างความผูกพันของเยาวชนกับชุมชนท้องถิ่น

Main Article Content

ธิดารัตน์ ศักดิ์วีระกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของเยาวชนในท้องถิ่นด้านการมีส่วนร่วมและผูกพันกับชุมชน 2) ศึกษาการทำงานกับเยาวชนในท้องถิ่นจากการปฏิบัติงานภาคสนามของบัณฑิตอาสาสมัคร 3) พัฒนากระบวนการทำงานที่สร้างความผูกพันของเยาวชนกับชุมชนท้องถิ่น ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพในลักษณะการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลความคิดเห็นของเยาวชนในท้องถิ่นด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่า IOC ระดับ .75 จำนวน 314 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เก็บข้อมูลปฏิบัติงานโครงการด้วยการติดตาม สังเกตและมีส่วนร่วม นำผลที่ได้มาสังเคราะห์สร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) เยาวชนในท้องถิ่นต้องการมีส่วนร่วมกับการพัฒนาชุมชนในระดับสูง (gif.latex?\bar{X} = 3.51) มีความยึดมั่นผูกพันกับชุมชนในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 3.68) แต่มีโอกาสเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นและทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนน้อย (gif.latex?\bar{X} = 2.82) 2) การศึกษาการทำงานกับเยาวชนในท้องถิ่น ประกอบด้วย (1) เตรียมความพร้อมเยาวชนและชุมชน (2) วางแผนพัฒนาเยาวชนกับการพัฒนาชุมชน (3) ดำเนินงานตามแผน (4) ประเมินผลและถอดบทเรียนการทำงาน และ (5) รายงานผลและข้อเสนอการปรับปรุงกระบวนการทำงาน องค์ประกอบสนับสนุนความสำเร็จ ได้แก่ แผนบูรณาการจะต้องมาจากข้อเสนอของเยาวชนและชุมชนโดยเฉพาะผู้ปกครองมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มกระบวนการ สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ขององค์กรสนับสนุน มีการสนับสนุนทางวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา 3) การพัฒนากระบวนการทำงานที่สร้างความผูกพันของเยาวชนกับชุมชนท้องถิ่น สังเคราะห์เป็นขั้นตอนสำหรับประยุกต์ใช้ตามบริบทของชุมชนได้ 5 ขั้นตอน คือ (1) การเตรียมความพร้อมคนทำงาน (2) สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเยาวชนและสมาชิกในชุมชน (3) สนับสนุนการมีส่วนร่วมออกแบบและพัฒนาโครงการบนฐานความต้องการของชุมชน (4) ดำเนินการร่วมกัน และ (5) แลกเปลี่ยนและนำเสนอข้อมูลเพื่อการพัฒนา

Article Details

How to Cite
ศักดิ์วีระกุล ธ. (2023). การพัฒนากระบวนการทำงานที่สร้างความผูกพันของเยาวชนกับชุมชนท้องถิ่น. วารสารวิจยวิชาการ, 6(4), 409–422. https://doi.org/10.14456/jra.2023.96
บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน. (2561). แนวทางการจัดให้มีสภาเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติ ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ : กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.).

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2560). ยุทธศาสตร์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พ.ศ.2560-2569. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานยุทธศาสตร์และนโยบาย กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560-2564 (ผนวกรวมแผนปฏิบัติการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ เจ.เอส.การพิมพ์.

วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2560). คู่มือนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (บัณฑิตอาสาสมัคร) รุ่นที่ 49 ปีการศึกษา 2560. (อัดสำเนา)

ธิดารัตน์ ศักดิ์วีระกุล. (2563). เสียงสะท้อน: หนังสือรวบรวมสถานการณ์ด้านเด็กและเยาวชนจากการดำเนินโครงการการพัฒนาหลักสูตรสร้างเสริมศักยภาพบุคลากรด้านเด็กและเยาวชนในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บริษัท ไบรท์ แอนด์ พริ้น จำกัด.

ธิดารัตน์ ศักดิ์วีระกุล และปณิชา ปานกลาง. (2565). คู่มือนักสร้างสรรค์กระบวนการพัฒนาเยาวชนในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : เดอะวันพริ้นติ้ง.

ACT for Youth Network. (2023). What is Youth Engagement, Really?. Retrieved from https://actforyouth.net/youth_development/engagement/index.cfm?pf=1

Allen, J. A., & Reiter-Palmon, R. (2019). The Cambridge Handbook of Organizational Community Engagement and Outreach. England : Cambridge University Press.

Arnold, M. E., Dolenc, B., & Wells, E. E. (2008). Youth Community Engagement: A Recipe for Success. Journal of Community Engagement and Scholarship, 1(1), 58-65.

Bruce, D, F. (2018). Community-Based Participatory Action Research: It’s All about the community. Cognella San Diego : Cognella San Diego.

Kral, M. J., & Allen, J. (2015). Community-based and Participatory Action Research: Community psychology collaborations within and across borders. Washington, DC : American Psychological Association.

Pittman, K. J. (2017). Positive Youth Development as a Strategy for Addressing Readiness and Equity: A Commentary. Child Development, 88(4), 1172-1174.