การนิเทศภายในโรงเรียน ศูนย์เครือข่ายทุ่งสนเข็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2

Main Article Content

อภินันท์ โพธิ์กันทา
จารุวรรณ นาตัน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการนิเทศภายในโรงเรียน ศูนย์เครือข่ายทุ่งสนเข็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ คือ แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูในศูนย์เครือข่ายทุ่งสนเข็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จำนวน 132 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยผู้บริหารใช้วิธีจากการเลือกแบบเจาะจง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ แล้วใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สภาพการนิเทศภายในโรงเรียน ศูนย์เครือข่ายทุ่งสนเข็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.43) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวางแผนและการกำหนดทางเลือก อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} = 4.57) ด้านที่ค่าเฉลี่ยรองลงมา คือ การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.45) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การสร้างสื่อ เครื่องมือ และการพัฒนาวิธีการ อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.33)

Article Details

How to Cite
โพธิ์กันทา อ., & นาตัน จ. (2023). การนิเทศภายในโรงเรียน ศูนย์เครือข่ายทุ่งสนเข็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 223–236. https://doi.org/10.14456/jra.2023.140
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ ฝากกระโดน. (2556). ปัญหาการนิเทศภายในของครูผู้สอนอำเภอตาพระยาจังหวัดสระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

กระทรวงศึกษาธิการ (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติ การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

นันท์นภัส โซรัม. (2558). สภาพและปัญหาการนิเทศภายในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

เนตรนภา ราชแลนด์. (2561). การมีส่วนร่วมในการนิเทศภายในของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. (การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). วิทยาลัยการจัดการ : มหาวิทยาลัยพะเยา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ประภาภรณ์ พลรักษ์. (2560). แนวทางการส่งเสริมกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การนิเทศการสอน. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พีรยา ทรัพย์หล่ำ. (2563). แนวทางการดำเนินงานการนิทศภายในของโรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดนครสวรรค์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ (2557). การนิเทศการศึกษา. สงขลา : นำศิลป์โฆษณา.

วาสนา แป้งสี. (2557). การนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. เพชรบูรณ์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2.

Grant, A. M. (2012). Australian coaches' views on coaching supervision: A study with implications for Australian coach education, training and practice. International Journal of Evidence Based Coaching and Mentoring, 10(2), 17-33.

Ladbury, J. L. S. (2012). School Counseling Supervision: A Qualitative Summary from the Perspective of School Counseling Site-Supervisors. (Dissertation Doctor of Philosopy, Counselor Education and Supervision). Graduate Faculty : North Dakota State University.

MemduhoĞLu, H.B. (2012). The Issue of Education supervision in Turkey in the Views of Teachers, Administrators, Supervisors and Lecturers. Educational Sciences: Theory & Practice, 12(1), 149-156.

Nazaré, D.M. & Coimbra, C. T. (2013). Supervision and Evaluation: Teachers' Perspectives. International Journal of Humanities and Social Science, 3(5), 65-71.

Pelling, N. J. (2013). Supervisory Indentity Development and Its Relationship to Supervisory Experience Counselling Experience and Training in Supervision. (Dissertation Doctor of Philosopy, Counselor Education and Counseling Psychology). Graduate Faculty : Western Michigan University.

Tahir, I. M., Ghani, N. A., Atek, E. S. & Manaf, Z. A. (2012). Effective supervision from research students’ perspective. International Journal of Education, 4(2), 211-222.