รูปแบบการจัดการความรู้ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการความรู้ 2) สร้างรูปแบบการจัดการความรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) ประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4 ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีขั้นตอน ดังนี้ (1) การแจกแบบสอบถามกับประชากรที่ใช้ในการวิจัยที่เป็นผู้บริหาร ครู โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 95 รูป/คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (2) การสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูป/คน โดยเลือกแบบเจาะจง ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และ (3) การประเมินผล 4 ด้าน คือ ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติและด้านความเป็นประโยชน์ จากผู้ทรงคุณวุฒิที่ จำนวน 15 รูป ด้วยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการความรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการกำหนดความรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ 2) รูปแบบการจัดการความรู้ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย 5 รูปแบบ ดังนี้ ด้านการกำหนดความรู้ ตามหลักอิทธิบาท 4 ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบตามหลักอิทธิบาท 4 ด้านการประมวลและการกลั่นกรองความรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 และด้านการแบ่งปันและการแลกเปลี่ยนความรู้ตามหลักอิทธิบาท 4 และ 3) การประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาท 4 พบว่า ภาพรวมทั้ง 5 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมากทุกด้าน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
พระครูถาวรรัตนานุกิจ. (2565). เสวนาออนไลน์ เรื่อง โลกเปลี่ยน คนปรับ ขยับการเรียนรู้ ในโรงเรียน (ชนบท) ในบริบทโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. เข้าถึงได้จาก https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/nac/2021/slide/y6-lec01.pdf
พระครูวินัยธร สุริยา รวิวํโส (สุขสวัสดิ์). (2555). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8. วารสารสหวิทยาการวิจัย : ฉบับบัณฑิตศึกษา, 1(1), 114.
พระครูสังฆกิจจานุรักษ์ (สิริเชษฐ์พงษ์). (2563). รูปแบบการบริหารวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระพิทักษ์ บุญปัน. (2560). รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ในเขตจังหวัดหนองคาย. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 3(2), 12.
พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2562. (2562, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก, หน้า 1-11.
ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 135 ตอนที่ 82 ก, หน้า 1-65.
วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพ.
สำนักงานการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. (2565). ข้อมูลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 ภาคเรียนที่ 2 สรุปรายเขต. เข้าถึงได้จาก https:// deb.onab.go.th/cms/s85/u25/samun/จำนวนนักเรียน_10_พ_ย.%2064.pdf