แนวทางการประยุกต์ใช้หลักอธิกรณสมถะสำหรับพนักงานสอบสวน จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการและวิธีการสอบสวนตามหลักนิติศาสตร์ 2) ศึกษาหลักการและวิธีการของการระงับอธิกรณ์ตามหลักอธิกรณสมถะ และ 3) ประยุกต์ใช้หลักอธิกรณสมถะสำหรับพนักงานสอบสวนจังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 รูป/คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักการและวิธีการสอบสวนตามหลักนิติศาสตร์ หลักการและวิธีการสอบสวนตามหลักนิติศาสตร์ของการสอบสวน การรวบรวมพยานหลักฐาน และตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา 2) วิธีการของการระงับอธิกรณ์ตามหลักอธิกรณสมถะ 2.1) วิวาทาธิกรณ์ 2.2) อนุวาทาธิกรณ์ 2.3) อาปัตตาธิกรณ์ 2.4) กิจจาธิกรณ์ และ 3) ประยุกต์ใช้หลักอธิกรณสมถะสำหรับพนักงานสอบสวนใช้ 5 ประเด็นคือ 3.1) สัมมุขาวินัย 3.2) อมูฬหวินัย 3.3) ปฏิญญาตกรณะ 3.4) ตัสสปาปิยสิกา 3.5) ณวัตถารกวินัยโดยการตัดสินลงโทษผู้กระทำผิด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
การุณ รักษาสุข. (2558). การตัดสินคดีความของกระบวนการยุติธรรมไทย กับกระบวนการทางพระวินัย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เกียรติศักดิ์ พันธวงศ์. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบหลักการลงโทษผู้กระทำผิดในพุทธศาสนาเถรวาทกับประมวลกฎหมาย และป.วิ.อาญา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2543). วินัยเรื่องใหญ่กว่าที่คิด. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2551). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ เอดิสัน เพรสโพรดักส์.
ภัทร ภูมิสันติ. (2560). การตีความแบบขยายความในกฎหมายอาญา. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.