แนวทางการบริหารโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC)

Main Article Content

ทรงวุฒิ วีเปลี่ยน
ศิริพงษ์ เศาภายน
จารุวรรณ พลอยดวงรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงการนำรูปแบบโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ School as Learning Community (SLC) มาพัฒนาโรงเรียนตามบริบทของชุมชน โดยชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นกระบวนการหนึ่งในการนำมาเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีความเข้มแข็งด้วยการเรียนรู้และความรู้ของชุมชน โดยให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล และนำความรู้ ทักษะ ความสามารถต่าง ๆ มาใช้ในการพัฒนาโรงเรียน ผลการศึกษา พบว่า แนวทางสำหรับการบริหารโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้ 1) การตั้งคำถาม 2) การแสวงหาความรู้สารสนเทศ 3) สร้างองค์ความรู้ 4) เรียนรู้เพื่อการสื่อสาร และ5) การตอบแทนสังคม เพื่อสะท้อนแนวทางและแนวคิดการบริหารจัดการศึกษาที่มีความแตกต่างทั้งบริบททางสังคมสภาพทางเศรษฐกิจของชุมชน

Article Details

How to Cite
วีเปลี่ยน ท. ., เศาภายน ศ. ., & พลอยดวงรัตน์ จ. . (2023). แนวทางการบริหารโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (SLC) . วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 301–316. https://doi.org/10.14456/jra.2023.145
บท
บทความวิชาการ

References

กมลวรรณ ทิพยเนตร. (2561). การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสร้างชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

กิริญณภา หนูอินทร์. (2562). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 1(4), 33-39.

จิณณภัทร พิบูลวิทิตธำรง. (2565). กลยุทธ์การบริหารความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสู่โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาวะผู้นำและนวัตกรรมการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสยาม.

ซาโต มานาบุ. (2559). การปฏิรูปโรงเรียน แนวความคิด “ชุมชนแห่งการเรียนรู้” กับการนำทฤษฎีมาปฏิบัติจริง. นนทบุรี : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

ลัดดา ภู่เกียรติและคณะ. (2562). แนวทางการสร้างโรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตพัฒนา. เข้าถึงได้จาก ttps://www.satitpattana.ac.th/web/news/public_ksp_OneSchoolOneInnovation2560/Guide_to_Creating_School_Community_Learning.pdf

สายสุนีย์ กอสนาน. (2562). ชุมชนการเรียนรู้เชิงวิชาชีพโดยผสมผสานเครือข่ายสังคมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบไตร่ตรองที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). แผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

อนงค์กาญจน์ ศรีจันทร์. (2563). แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ตามแนวคิด โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถพล อนันตวรสกุล. (2562). ชั้นเรียนคือพื้นที่ที่ทรงพลังของการพัฒนาวิชาชีพครู. เข้าถึงได้จาก https://adaybulletin.com/talk-guest-lifelong-learning-athapol-anunthavorasakul/42460

Dewey, J. (1927). The public and its problems. New York : H. Holt and Company.

EDUCA Review. (2564). SLC - School as Learning Community โรงเรียนในฐานะชุมชมแห่งการเรียนรู้ พร้อมภาพประกอบ Infographic. เข้าถึงได้จาก https://www.educathai. com/knowledge/articles/480

Elboj, C., et al. (2002). Comunidades de aprendizaje. Transformar la educación. Barcelona : Graó.

García-Carrión, R., et al. (2020). Teacher Induction in Schools as Learning Communities: Successful Pathways to Teachers’ Professional Development in a Diverse School Serving Students Living in Poverty. Sustainability, 12(7146), 1-15.

Garcia-Carrion, R., Gomez, A., Molina, S. & Ionescu, V. (2017). Teacher Education in Schools as Learning Communities: Transforming High-Poverty Schools through Dialogic Learning. Aust. J. Teach. Educ, 42, 44–56.

Mello, R.R. & Braga, F.M. (2018). School as Learning Communities: an effective Alternative for Adult Education and Literacy in Brazil. Front. Educ, 3(114), 1-17.

Sato, M. (2016). Enhancing Collaborative Learning: Challenges of School as Learning Community. Thailand : Keynote for EDUCA2016.

Sato, M., Makio, M, Hayashi, T. & Ohno, M. (2015). Abrupt intensification of North Atlantic Deep Water formation at the Nordic Seas during the late Pliocene climate transition. Geophysical Research Letters, 42(12), 4949-4955.

Senge, P.M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York : Currency Doubleday.