การผลิตและพัฒนาครูผู้สร้างสุขภาวะและสุนทรียะ

Main Article Content

วิรดี เอกรณรงค์ชัย
จักริน ด้วงคำ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะและสุนทรียะ ซึ่งต้องมุ่งเน้นให้นักเรียนเกิดความสามารถในการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพจนมีวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี ห่างไกลจากพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ โดยจำเป็นต้องสร้างความฉลาดทางสุขภาวะ กล่าวคือ ความเป็นสุขอย่างฉลาด อันได้แก่ การเรียนเพื่อรู้ การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง การเรียนรู้เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน และการเรียนรู้เพื่อชีวิต ซึ่งรวมเรียกว่า “เสาหลักของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้” เช่นเดียวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างสุนทรียะที่ต้องมุ่งเน้นการส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการ ชื่นชมความงาม สุนทรียภาพ ความมีคุณค่า และแสดงออกในเชิงสร้างสรรค์ โดยการสร้างสุขภาวะและสุนทรียะนั้นไม่ใช่เป็นเพียงหน้าที่ของครูสุขศึกษาและพลศึกษา หรือครูศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์เท่านั้น หากแต่เป็นหน้าที่ร่วมของครูทุกสาขาวิชา และต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดังนั้นการผลิตและพัฒนาครูผู้สร้างสุขภาวะและสุนทรียะ จึงควรให้ความสำคัญกับการสร้างความตระหนักและความเข้าใจในตนเองให้แก่นักศึกษาครู ซึ่งครูไม่ว่าจะสาขาใดก็ตามสามารถสร้างเสริมสุขภาวะและสุนทรียะให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนได้ อันจะทำให้เกิดการผลิตและพัฒนาครูผู้สร้างสุขภาวะและสุนทรียะที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อการพัฒนาประเทศชาติต่อไปในอนาคต

Article Details

How to Cite
เอกรณรงค์ชัย ว., & ด้วงคำ จ. (2024). การผลิตและพัฒนาครูผู้สร้างสุขภาวะและสุนทรียะ . วารสารวิจยวิชาการ, 7(1), 385–396. https://doi.org/10.14456/jra.2024.28
บท
บทความวิชาการ

References

กรมวิชาการ. (2551). การจัดสาระเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2556). การพัฒนาสุนทรียภาพ (Aesthetics). เข้าถึงได้จาก https://www. thairath.co.th/content/341567

จินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2554). เอกสารคำสอนรายวิชา 2723358 วิธีวิทยาการสอนสุขศึกษา. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข็งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์. (2559). รายงานชุดการปฏิรูประบบบุคลากรครู: ข้อเสนอการสร้างและคัดเลือกครูสอนดีรุ่นใหม่สู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ.

สนธยา สีละมาด. (2557). กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาวะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2560). โรงเรียนสุขภาวะการศึกษาแบบนวัตกรรมยุคใหม่ (Healthy School). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

หทัยรัตน์ พึ่งประยูรพงศ์. (2553). การศึกษาการรับรู้เชิงสุนทรีย์ของนักเรียนประถมศึกษาที่มีต่องานศิลปะ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ. (2560). การพัฒนารูปแบบการผลิตครู เพื่อรองรับการศึกษายุค 4.0. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 35(3), 101-136.

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2562). การอภิปรายกลุ่มย่อย “แนวทางการผลิตและพัฒนาครูไทยในอนาคต” ในงานเหลียวหลังแลหน้า การฝึกหัดครูไทย. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

Council of Chief State School Offices (CCSSO). (2013). Interstate Teacher Assessment and Support Consortium in TASC Model Core Teaching Standards and Learning Progressions for Teachers 1.0. Washington, DC : Council of Chief State School Officers.

Glanz, K. (2008). Health behavior and health education: theory, research and practice. (4th ed). San Francisco : Jossey-Bass.

National Institute of Education (NIE). (2009). TE21: A teacher education model for the 21st century. Singapore : NIE.

Neimi, H. (2013). The finish teacher education, teachers for equity and professional autonomy. Revista Espanola de Educacion Comparada, 22, 117-138.