รูปแบบการเผยแผ่ของพระวิทยากรในเรือนจำและทัณฑสถาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการเผยแผ่ของพระวิทยากรในเรือนจำและทัณฑสถาน 2) พัฒนารูปแบบการเผยแผ่ของพระวิทยากรในเรือนจำและทัณฑสถาน และ 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาการเผยแผ่ของพระวิทยากรในเรือนจำและทัณฑสถาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 22 รูป/คน และการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแบบวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการเผยแผ่ของพระวิทยากรในเรือนจำและทัณฑสถาน ได้แก่ พระวิทยากรยังขาดรูปแบบและวิธีการคิด วิธีการเทศน์ที่เหมาะสมในการเผยแผ่กับผู้ต้องขัง และ ความคับแคบสถานที่คับแคบ กฎระเบียบที่จำกัด และความเครียดของผู้ต้องขัง ทำให้มีผลต่อการเผยแผ่ของพระวิทยากร 2) การพัฒนารูปแบบการเผยแผ่ของพระวิทยากรในเรือนจำและทัณฑสถาน ต้องมีวิธีกระตุ้นความคิดด้วยโยนิโสมนสิการ และวิธีเทศนาใช้เทศนา 4 ให้ผู้ต้องขังเข้าใจเรื่อง“กรรมและกฎแห่งกรรม” ส่วนวิธีการปฏิบัติตน ควรมีจริยาวัตรงดงาม ปณิธานแน่วแน่ ตรวจพิจารณาผู้ฟัง มีกัลยาณมิตรธรรม 7 และองค์แห่งธรรมกถึก 5 และ 3) การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาการเผยแผ่ของพระวิทยากรในเรือนจำและทัณฑสถานนั้นมีรูปแบบวิธีกระตุ้นความคิดของผู้ต้องขังคือ โยนิโสมนสิการ และวิธีเทศนาใช้วิธีการเทศนา 4 ให้ผู้ต้องขังเข้าใจเรื่อง“กรรมและกฎแห่งกรรม” ส่วนวิธีการปฏิบัติตน ควรมีจริยาวัตรงดงามอยู่ในสมณสารูป ปณิธานแน่วแน่ ตรวจพิจารณาผู้ฟัง มีกัลยาณมิตรธรรม 7 และองค์แห่ง ธรรมกถึก 5 ควรยึดตามหลักโอวาทปาติโมกข์ คือ หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 และวิธีการปฏิบัติอีก 6 จะทำให้สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติของผู้ต้องขังให้เกิดสัมมาทิฐิได้ดียิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
เจษฎากรณ์ รอดภัย. (2555). การศึกษาวิเคราะห์หลักโอวาทปาติโมกข์ในทัศนะของพระเถระในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ดาวเรือง หงษา. (2556). กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับงานราชทัณฑ์. กรุงเทพฯ : บริษัทพิมพ์สวย จำกัด.
ทรงวิทย์ แก้วศรี. (2551). การศึกษาวิเคราะห์ยุทธวิธีในการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ (สมพงศ์ ญาณธีโร). (2559). รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของพระธรรมทูตสายอินเดีย-เนปาลตามหลักพุทธจิตวิทยา. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูศรีสิทธิการ (สมใจ ธมฺมเวที). (2559). รูปแบบการบริหารการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ของคณะสงฆ์จังหวัดนนทบุรี. (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสุทธิวรญาณ (ภักดี เขมธโร). (2561). การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์แก่ผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดสระแก้ว. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 1(1), 22.
พระครูโสภณจิตตาภิรม (จำนงค์ เสาเปรียง). (2561). ศึกษาการประยุกต์หลักพุทธกิจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตพระสงฆ์ไทย. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเด่น ชิตมาโร. (2559). การบำเพ็ญบารมีและการบรรลุธรรมของพระองคุลิมาลเถระ. วารสาร มจรบาฬีศึกษาพุทธโฆษณ์ปริทรรศน์, 2(2), 101-102.
พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2549). พุทธวิธีในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แปดสิบเจ็ด.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2553). ปัญญาต้องคู่กรุณาจึงจะพาชาติรอด. กรุงเทพฯ : เชนปริ้นติ้ง.
พระปลัดคมศักดิ์รุ่งศิริ และ พระปลัดสมชาย ดำเนิน. (2565). พระธรรมกถึกกับการเผยแผ่. พระพุทธศาสนาในสังคมไทย. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 4(1), 18-28.
พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560. (2560, 18 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 21 ก, หน้าที่ 12-13.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ลีลา มันตรา. (2560). ธรรมจาริณี เรือนจำศีล. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.