การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน เรื่อง โครงสร้างระบบเครือข่าย สำหรับมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ธัญวดี กำจัดภัย
จตุรพร กัณหา
ประกายแก้ว เสียงหวาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐาน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการเรียนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยกลุ่มตัวอย่างในการใช้วิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6/7-6/9 โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ จำนวนนักเรียนทั้งหมด 130 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แผนจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน 3) แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนด้วยเทคนิคการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าสถิติที่ใช้ในการทดสอบค่าที ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จาการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า 1) พฤติกรรมการเรียนในรายวิชานักเรียนภายในชั้นเรียนไม่สนใจในการเรียนและขาดแรงจูงใจในการเรียน จึงต้องการให้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และเพิ่มกิจกรรมที่นักเรียนได้มีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติเพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาความรู้ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยเทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เกมเป็นฐาน คะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังการจัดการเรียนสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อเทคนิคการจัดการเรียนโดยใช้เกมเป็นฐาน มีความพึงพอใจในภาพรวมค่าเฉลี่ย 4.57 อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤดาภัทร สีหารี. (2561). มุมมองวิศวกรรมซอฟต์แวร์ต่อการเรียนรู้ด้วยเกมดิจิทัลสำหรับการศึกษาประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 28(2), 477-488.

จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ.(2542). คู่มือสำหรับการสอนและการคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับเกม. ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฐิตา วัจนามกุล. (2555). การสอนโดยใช้เกมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนนับ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

นิตยา สุวรรณศรี. (2540). เพลงและเกมประกอบการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : คอมเพคท์พริ้น.

ภวิกา เลาหไพฑูรย์ และกมล โพธิเย็น. (2561). การสอนโดยใช้เกมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเลข 3 หลักของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 14(2), 155-170.

ลดาวัลย์ แย้มครวญ และศุภกฤษฏิ์ นิวัฒนากูล. (2560). การใช้เกมเพื่อการเรียนรู้สำหรับส่งเสริมทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 7(1), 33-41.