หลักพุทธธรรมและทฤษฎีองค์กรที่น่าไว้วางใจสูงเพื่อการพัฒนาสติระดับองค์กร

Main Article Content

พระครูโกวิทอรรถวาที
วิภาวรรณ ลิมป์ไพบูลย์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับสติในระดับองค์กรตามทฤษฎีองค์กรที่น่าไว้วางใจสูงของ Karl E. Weick ซึ่งได้กล่าวถึงสติระดับองค์กรว่าเป็นการรวมกันของสติของสมาชิกในองค์กรที่ร่วมกันพัฒนาการตระหนักรู้ถึงสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทำให้สามารถนำสติร่วมกันนั้นนำมาควบคุมพฤติกรรมของทีมเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์วิกฤต โดยพื้นฐานที่สำคัญของสติระดับองค์กร ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) การคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น 2) การไม่เอาง่ายเข้าว่า 3) ความรู้สึกไวต่อสิ่งผิดปกติรอบตัว 4) ความมุ่งมั่นในการกลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และ 5) การให้ความสำคัญกับผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งองค์ประกอบของสติในระดับองค์กรนี้มีความจำเป็นกับทุกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรที่น่าไว้วางใจสูง หรือองค์กรที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนและมีความเสี่ยงสูง และต้องการความน่าเชื่อถือและไว้วางใจว่าจะสามารถปฏิบัติงานได้ดีโดยไม่มีข้อผิดพลาด บทความนี้ได้นำเสนอหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ได้เชื่อมโยงสติในระดับองค์กร ได้แก่ สติปัฏฐาน 4, สัมปชัญญะ 4, อัปปมาทธรรม, โยนิโสมนสิการ และสัปปุริสธรรม 7 ซึ่งหากได้มีการนำหลักธรรมทางพระพุทธ ศาสนาเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในองค์กร จะสามารถสร้างและพัฒนาสติในระดับองค์กรในทุกองค์กร ลดความผิดพลาดและความเสียหายอันอาจจะเกิดขึ้นในกรณีที่องค์กรต้องเผชิญกับสภาวการณ์ที่ไม่คาดคิด ซึ่งทำให้องค์กรเกิดความยั่งยืน และส่งผลต่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป

Article Details

How to Cite
พระครูโกวิทอรรถวาที, & ลิมป์ไพบูลย์ ว. . (2024). หลักพุทธธรรมและทฤษฎีองค์กรที่น่าไว้วางใจสูงเพื่อการพัฒนาสติระดับองค์กร . วารสารวิจยวิชาการ, 7(1), 323–336. https://doi.org/10.14456/jra.2024.24
บท
บทความวิชาการ

References

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34). นนทบุรี : เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (ชําระ-เพิ่มเติม ช่วงที่ 1). (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมพงษ์ ฐิตจิตโต และคณะ. (2562). การประยุกต์ใช้หลักสติปัฏฐาน 4 ในการบริหารองค์กร. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 6(2), 97-108.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Brown, K. W., & Ryan, R. M. (2003). The benefits of being present: Mindfulness and its role in psychological well-being. Journal of Personality and Social Psychology, 84(4), 822–848.

Dierynck, B., Leroy, H., Savage, G. T., & Choi, E. (2016). The role of individual and collective mindfulness in promoting occupational safety in health care. Medical care research and review, 74(1), 79-96.

Gopinath, G. (2020a). The Great Lockdown: Worst Economic Downturn since the Great Depression. The Daily Tribute. Retrieved From https://www.scirp.org/ %28S%8vtj3fa45qm1ean45vvffcz55%29%29/reference/referencespapers.aspx?referenceid=3020618

Gunaratana, B.H. (2011). Mindfulness in plain English. Retrieved From https://www. theravada.gr/wp-content/uploads/2021/05/Mindfulness-in-Plain-English_ Gunaratana.pdf

Kabat-Zinn, J. (2003). Mindfulness-based interventions in context: Past, present, and future. Clinical Psychology: Science and Practice, 10(2), 144-156.

Langer, E. J., & Moldoveanu, M. (2000). Mindfulness research and the future. Journal of social issues, 56(1), 129-139.

Langer, E.J. (1989). Minding matters: The consequences of mindlessness-mindfulness. Advances in Experimental Social Psychology, 22, 137-173.

Linnenluecke, M. K. (2017). Resilience in Business and Management Research: A Review of Influential Publications and a Research Agenda. International Journal of Management Reviews, 19(1), 4-30.

Roberts, K. H. (1990). Managing High Reliability Organizations. California Management Review, 32(4), 101–113.

Sutcliffe, K.M., Vogus, T.J., & Dane, E. (2016). Mindfulness in organizations: A cross-level review. Annual Review of Organizational Psychology and Organizational Behavior, 3, 55-81.

Vogus, T.J. & Sutcliffe, K.M. (2012). Organizational mindfulness and mindful organizing: A reconciliation and path forward. Academy of Management Learning & Education, 11(4), 722-735.

Vogus, T.J., Cooil, B., Sitterding, M., & Everett, L.Q. (2014). Safety organizing, emotional exhaustion, and turnover in hospital nursing units. Medical Care, 52, 870-876.

Wamsler, C. (2018). Mind the gap: The role of mindfulness in adapting to increasing risk and climate change. Sustainability Science, 23, 1121-1135.

Weick, K.E. & Putnam, T. (2006). Organizing for mindfulness, Eastern wisdom and Western knowledge. Journal of Management Inquiry, 15(3), 275-287.

Weick, K.E. & Robert, K.H. (1993). Collective mind in organizations: Heedful interrelating on flight decks. Administrative Science Quarterly, 38(1993), 357-381.

Weick, K.E., & Sutcliffe, K.M. (2001). Managing the unexpected. New Jersey : Jossey-Bass.

Weick, K.E., Sutcliffe, K.M., & Obstfeld, D. (1999). Organizing for high reliability: Processes of collective mindfulness. Research in Organizational Behavior, 1, 81–123.