การพัฒนาวัดตามหลักสัปปายะเพื่อเป็นศูนย์การสอนวิปัสสนากรรมฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์การวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสัปปายะในสมัยพุทธกาล 2) วิเคราะห์วัดที่เป็นศูนย์การสอนวิปัสสนากรรมฐานในสังคมไทยตามแนวสัปปายะ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาวัดตามแนวสัปปายะเพื่อเป็นศูนย์การสอนวิปัสสนากรรมฐาน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 17 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 รูป/คน มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาในลักษณะการพรรณนาความ ผลการวิจัย พบว่า 1) ในสมัยพุทธกาลพระสงฆ์ได้อาศัยอยู่ในวัดหรือเสนาสนะที่มีความสะดวก เหมาะสม หรือมีความเป็นสัปปายะในการศึกษาพระไตรปิฎกและการฝึกวิปัสสนากรรมฐาน โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยหรือเสนาสนะที่ตั้งอยู่ในสิ่งแวดล้อมอันสะอาด สงบ ร่มเย็น และสอดคล้องสัมพันธ์กับธรรมชาติ 2) จากการวิเคราะห์วัดที่เป็นศูนย์การสอนวิปัสสนากรรมฐานในสังคมไทยตามแนวสัปปายะ พบว่า วัดที่เป็นศูนย์การสอนวิปัสสนากรรมฐาน มีความพร้อมและมีการพัฒนาให้เป็นไปตามแนวสัปปายะ ทั้งในเรื่องที่อยู่ที่อาศัย สถานที่เดินจงกรมและเส้นทางสัญจร พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิปัสสนาจารย์ผู้ทรงคุณ มีอาหารที่บริบูรณ์ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และมีหลักสูตรปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่สมดุลไม่ตึงไม่หย่อนเกินไป และ 3) แนวทางในการพัฒนาวัดตามหลักสัปปายะเพื่อให้เป็นศูนย์การสอนวิปัสสนากรรมฐานจะต้องพัฒนาใน 3 มิติสำคัญ คือ 1) ด้านสถานที่อยู่อาศัยและการขบฉัน (อาวาสสัปปายะ/โภชนสัปปายะ) 2) ด้านกายภาพเพื่อรองรับบุคคลและกิจกรรม (ภัสสสัปปายะ/ปุคคลสัปปายะ/อิริยาปถสัปปายะ) และ 3) ด้านสภาพแวดล้อมโดยรอบวัด (โคจรสัปปายะ/อุตุสัปปายะ) โดยเฉพาะเส้นทางสัญจร และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ความร่มรื่นและความสงบ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ (สมาน กลฺยาณธมฺโม/พรหมอยู่). (2550). เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พระครูโสภณปริยัติสุธี. (2552). แนวคิดทางการเมืองการปกครองตามแนวพระไตรปิฎก. (สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระเทพโสภณ. (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2548). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพฯ : วัดมหาโอรสาราม.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก จำกัด.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2541). พุทธสถานในอินเดีย-เวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. (2500). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Rawlinson Hugh George. (1950). a Concise History of the Indian People. London : Oxford University Press.