การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่รองรับ การเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษากลุ่มภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่รองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษากลุ่มภาคเหนือ และ 2) ประเมินรูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่รองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษากลุ่มภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่าง สถานศึกษาจำนวน 1 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครูของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย จำนวน 30 คน เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพการดำเนินงานก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีฯ แบบสอบถามความพึงพอใจของรูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีฯ และแบบประเมินรูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีรองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษากลุ่มภาคเหนือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) การหาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่รองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษากลุ่มภาคเหนือ พบว่า บุคลากรวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงรายที่ผ่านการทดลองใช้รูปแบบมีคะแนนหลังการทดลองใช้สูงกว่าก่อนการทดลองใช้รูปแบบที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการประเมินความพึงพอใจรูปแบบการพัฒนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด แสดงว่ารูปแบบมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 2) การประเมินรูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีรองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษากลุ่มภาคเหนือ พบว่า รูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่รองรับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาอาชีวศึกษากลุ่มภาคเหนือ ประกอบด้วย หลักการบริหารและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบการบริหาร กระบวนการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี การประเมินผลการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี มีรูปแบบที่ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จุรี ทัพวงษ์. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี วิทยาลัยการอาชีพบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง, 6(2), 24-33.
ธานินทร์ ศรีชมภู. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(3), 120-131.
รมย์นลิน ศรีสายหยุด. (2563). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(1), 89-104.
วรวิทย์ ศรีตระกูล. (2556). การพัฒนาการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีวิทยาลัยเทคนิคหนองคาย. (รายงานการวิจัย). อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สมพล ขาจิตร์. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เพื่อเพิ่มคุณภาพนักศึกษาตามความต้องการกำลังคนระดับอาชีพเทคนิค. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2558). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการศึกษาระบบทวิภาคีหรือระบบฝึกหัด-กรณีศึกษา ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สหรัฐอเมริกา อังกฤษและออสเตรเลีย. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สุเมธ รินทลึก และวิชิต แสงสว่าง. (2564). การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(3), 39-53.