การสร้างต้นแบบสภาผู้นำชาวนาอินทรีย์ โดยการมีส่วนร่วมของชาวนา ตำบล บึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ
พิษณุ แก้วตะพาน
มยุรี รัตนเสริมพงศ์

บทคัดย่อ

บทความการวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่ใช้ชุมชนเป็นฐานในการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์ของการทำนาและชาวนาในตำบลบึงกาสาม 2) สร้างต้นแบบสภาผู้นำชาวนาอินทรีย์โดยการมีส่วนร่วมของชาวนา ตำบลบึงกาสาม และ 3) พัฒนาศักยภาพชาวนาต้นแบบนำไปสู่การทำนาเกษตรอินทรีย์ผ่านสภาผู้นำชาวนาอินทรีย์ ตำบลบึงกาสาม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มแกนนำสภาผู้นำชาวนาอินทรีย์ จำนวน 15 คน จาก 9 หมู่บ้าน ชาวนา 30 คน และภาคีเครือข่าย 5 คน วิธีการศึกษาวิจัย ได้แก่ การค้นคว้าและวิเคราะห์จากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม การสังเกตการแบบมีส่วนร่วม และการจัดเวทีสาธารณะ ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานการณ์ของการทำนาของชาวนาใน ต.บึงการสาม มีการทำนาลดลง มาจากปัจจัยต่างๆได้แก่ ปัจจัยปัญหาดินเปรี้ยว ปัจจัยการเปลี่ยนอาชีพจากชาวนาเป็นชาวสวนส้มเขียวหวานและกล้วย ปัจจัยต้นทุนการใช้สารเคมีและการขาดแรงงานทำนา ปัจจัยการขยายตัวของเมือง ปัจจัยการขาดการรวมกลุ่มชาวนา และ ปัจจัยหนี้สินชาวนาและพ่อค้าคนกลางกดราคา 2) การสร้างต้นแบบสภาผู้นำชาวนาอินทรีย์โดยการมีส่วนร่วมของชาวนา พบว่า มีการดำเนินการจัดตั้งสภาผู้นำชาวนาอินทรีย์ต้นแบบขึ้นโดยผ่านการรับรองจากสภาองค์กรชุมชนตำบลบึงกาสาม มีการกำหนดที่มา กำหนดบทบาทหน้าที่ จัดทำแผนดำเนินงาน พัฒนาระบบกลไก ค้นหาภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมหนุนเสริม ดำเนินงานติดตามและประเมินผล และสภาผู้นำชาวนาฯ มีความเป็นประชาธิปไตย และ 3) พัฒนาศักยภาพชาวนาต้นแบบนำไปสู่การทำนาเกษตรอินทรีย์ผ่านสภาผู้นำชาวนาอินทรีย์ต้นแบบ พบว่า การเสริมพลังผู้นำชาวนาบนฐานการมีส่วนร่วม การพัฒนาศักยภาพชาวนาผ่านงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน การอบรมเครื่องมือวิจัยชุมชน การศึกษาดูงานในพื้นที่ตัวอย่าง

Article Details

How to Cite
ตติยะลาภะ ด., แก้วตะพาน พ., & รัตนเสริมพงศ์ ม. (2023). การสร้างต้นแบบสภาผู้นำชาวนาอินทรีย์ โดยการมีส่วนร่วมของชาวนา ตำบล บึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 283–300. https://doi.org/10.14456/jra.2023.144
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2565). การเสริมพลังกับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อท้องถิ่น.

ชาวนาไม่เปิดเผยนาม. (2563, 19 ธันวาคม). สถานการณ์การทำนาลดลงในตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. (ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ, ผู้สัมภาษณ์).

ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ และคณะ. (2560). การศึกษาสร้างตัวแบบสภาพลเมืองจังหวัดปทุมธานีสู่ความเข้มแข็งประชาธิปไตยไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 231-245.

นันทา กันตรี และคณะ. (2562). โครงการศึกษาสภาพการเช่านาภาคกลาง: กรณีศึกษาจังหวัด พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และชัยนาท. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์ สำราญจิต. (2562). เพราะเธอ…คือชาวนา: โอกาสและความหวังการหลุดพ้นกับดักหนี้ชาวนา. กรุงเทพฯ : มิชชั่น อินเตอร์ พริ้น จำกัด.

เพ็ญรุ่ง เสาะแสวง. (2564, 16 มกราคม). สถานการณ์การทำนาลดลงในตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. (ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ, ผู้สัมภาษณ์).

วนิดา วัฒนชีวโนปกรณ์. (2561). สภาผู้นำชุมชน กลไกเข้มแข็งที่นำไปสู่การจัดการปัญหาสุขภาพของพื้นที่: บทเรียนชุมชนน่าอยู่ "บ้านสำโรง” จังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สมศักดิ์ เพชรรัตน์. (2564, 16 มกราคม). สถานการณ์การทำนาลดลงในตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. (ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ, ผู้สัมภาษณ์).

สยาม อรุณศรีมรกต และคณะ. (2560). การใช้สารเคมีในการทำนาข้าวของเกษตรกรในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. วารสารเกษตรพระวรุณ, 14(2), 173-180.

สำนักงานจังหวัดปทุมธานี. (2563). เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองปทุม. เข้าถึงได้จากhttp://www2.pathumthani.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1325:110364-2&catid=9&Itemid=231