การพัฒนากิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ศิลปะสำหรับเด็กอายุ 9-12 ปี และ 2) ประเมินผลการนำรูปแบบกิจกรรมไปใช้ แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 วิเคราะห์รูปแบบจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 ศึกษารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกจากกรณีศึกษาห้องเรียนศิลปะที่มีแนวปฏิบัติที่ดี จำนวน 3 แห่ง ระยะที่ 3 พัฒนารูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก ระยะที่ 4 ทดสอบรูปแบบกิจกรรมกับเด็กอายุ 9-12 ปี จำนวน 20 คน ที่เป็นอาสาสมัคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบประเมินทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะ และแบบบันทึกการสะท้อนการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติ t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก มี 4 ด้าน ได้แก่ แนวคิดและหลักการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก การจัดกิจกรรมศิลปะ เนื้อหาสาระสำคัญของกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก และการประเมินการสร้างสรรค์ตามแนวคิดการจัดกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือก 2) รูปแบบกิจกรรมศิลปะบนฐานทางเลือกได้เป็น 4 กิจกรรม ได้แก่ (1) พิพิธภัณฑ์ของฉัน (2) อยู่ไหนกันนะเจ้าสัตว์ประหลาด (3) สีสันรอบตัว และ (4) เมืองมหัศจรรย์ในอนาคต ได้ผลการประเมินทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะ 5 ด้าน ได้แก่ (1) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (2) ทักษะทางศิลปะ (3) การแสดงออกทางลักษณะ รูปแบบ และเนื้อหา (4) การเลือกและนำมาประยุกต์ใช้ และ (5) ความสมบูรณ์ของผลงาน และ 3) ผลจากการนำรูปแบบไปใช้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการสร้างสรรค์ศิลปะอยู่ในระดับดีมาก ( =3.50, S.D.=0.25) สูงกว่าเกณฑ์ค่ากลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการสัมภาษณ์พบว่า ผู้ร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจและเกิดความภาคภูมิใจในผลงานที่สร้างสรรค์ ได้เลือกใช้อุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วสุ สกุลรัตน์. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ความร่วมมือระหว่างบุคคลต่างวัยในกิจกรรมศิลปะที่มีต่อการเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียนภาควิชาการศึกษาตลอดชีวิต). คณะครุศาสตร์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2550).“ผู้เรียนเป็นสำคัญ”. สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60ปี. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการครุุสภา.
วิสูตร โพธิ์เงิน. (2561). รูปแบบกิจกรรมศิลปะเด็กสร้างสรรค์ : ความเป็นพลเมือง. Veridian E- Journal Silpakorn University, 16(1), 39-51.
สิริชัย ดีเลิศ. (2556). อัตลักษณ์แห่งตัวตนในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ. Veridian E-Journal Silpakorn University, 6(3), 336-345.
สุภลักษณ์ วงศ์หน่อ. (2558). ผลการจัดกิจกรรมศิลปะแนวศึกษาบันเทิงที่ส่งเสริมสุนทรียภาพสำหรับเด็กอายุ 7-9 ปี. An Online Journal of Education, 10(2), 471–483.
Brown University. (2008). Teaching for Artistic Behavior: Choice-Based Art. The Education Alliance.
Douglas, K. & Jaquith, D. (2009). Engaging learners through artmaking: Choice-based art education in the classroom. New York : Teachers College Press.
Douglas, K. (2012). Visit to a Choice-based Art Classroom. Arts and activities, 131(1), 11.
Epstein, J. L, et al. (2002). School, Family, and Community Partnerships: Your Handbook for Action. (2nd ed). California : Corwin Press, Inc.
Jackson, C. K. & Bruegmann, E. (2009). Teaching Students and Teaching Each Other: The Importance of Peer Learning for Teachers. American. Economic Journal: Applied Economics, 1(4), 85-108.
Koster, J. B. (2001). Bringing Art into the Elementary Classroom. America : Wadsworth.
Phan, H. P. (2009). Relations between goals, self-efficacy, critical thinking and deep processing strategies: a path analysis. Educational Psychology, 29, 777-799.