ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของบุคลากรในสำนักอนุมัติสินเชื่อรายย่อย ธนาคารออมสิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความยุติธรรมในองค์การ บรรยากาศองค์การ ความพึงพอใจในการทำงาน และความผูกพันองค์การของบุคลากร 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยเชิงเหตุผลที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การของบุคลากร ตามแบบจำลองสมการและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลตามแบบจำลองสมการโครงสร้างความผูกพันองค์การของบุคลากรในสำนักอนุมัติสินเชื่อรายย่อย ธนาคารออมสิน กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มลูกจ้างและพนักงานในสังกัดหน่วยงานสำนักอนุมัติสินเชื่อรายย่อยธนาคารออมสิน 1-18 จำนวน 226 คน จากประชากรทั้งหมด 502 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความยุติธรรมในองค์การ บรรยากาศองค์การ ความพึงพอใจในการทำงาน และความผูกพันองค์การ อยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ทุกตัวแปรสังเกตที่ใช้ในการศึกษาเป็นองค์ประกอบเชิงยืนยันตามแบบจำลองสมการโครงสร้างโดยเป็นไปตามข้อตกลงทางสถิติ คือ ค่า Chi-square = 228.96, df = 291, P-value = 0.99705, RMSEA = 0.000 และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ > 0.50 ทุกตัวแปร และ 3) ความผูกพันองค์การของบุคลากร ได้รับอิทธิพลทางตรงเชิงบวกมาจาก 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยบรรยากาศองค์การ อยู่ในระดับต่ำ และ ปัจจัยความพึงพอใจในการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง และในขณะเดียวกันยังได้รับอิทธิพลทางอ้อมมาจาก 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยส่งผ่านปัจจัยความยุติธรรมในองค์การ ปัจจัยบรรยากาศองค์การ และปัจจัยความพึงพอใจในการทำงาน อยู่ในระดับสูง และยังได้รับอิทธิพลทางอ้อม มาจากปัจจัยความยุติธรรมในองค์การ โดยส่งผ่านปัจจัยบรรยากาศองค์การ และปัจจัยความพึงพอใจในการทำงาน อยู่ในระดับต่ำ และยังได้รับอิทธิพลทางอ้อม มาจากปัจจัยบรรยากาศองค์การ โดยส่งผ่านปัจจัยความพึงพอใจในการทำงาน อยู่ในระดับต่ำ จากผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ทั้ง 4 ตัวแปรดังกล่าว สามารถทำนายตัวแปรตามคือ ปัจจัยความผูกพันองค์การ ได้ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
จิราภา ชีพวรรณ และจรัชวรรณ จันทรัตน์. (2556) ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานธนาคารออมสินในเขตจังหวัดกระบี่. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). คณะบริหารธุรกิจ : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ชัชวาล ดวงบุบผา. (2563). บุพปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานเจนเนอเรชั่นวาย ของธนาคารออมสิน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(6), 421-441.
ทิวาพร รักงาม. (2559). ความสัมพันธ์ของรูปแบบภาวะผู้นำและการรับรู้บรรยากาศองค์การต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยมีความผูกพันต่อองค์การเป็นตัวแปรกำกับในบุคลากรทางการพยาบาลสังกัดโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). คณะศิลปศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนัญพร สุวรรณคาม. (2560). ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). คณะศิลปศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธนาคารออมสิน. (2564). นโยบายดำเนินการ. เข้าถึงได้จาก https://www.gsb.or.th/csr_gsb /esg/.
นฤมล จิตรเอื้อ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการททำงานอย่างสร้างสรรค์และผลการปฏิบัติงานเชิงนวัตกรรมผ่านความผูกพันต่อองค์การด้าน จิตใจของอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 14(2), 349-380.
บุญชนะ เมฆโต. (2560). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อความผูกพันองค์การ และการตั้งใจลาออกของพนักงานระดับปฏิบัติการ: กรณีศึกษาบริษัทผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์แห่งหนึ่ง. Hrod jourmal, 9(1), 36-59.
สรัญญา นวลลออ. (2544). คุณภาพชีวิตการทำงานของครูประถมศึกษา อำเภอคลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สงบ ขุนศรีหวาน. (2563). อิทธิพลของธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การของบุคลากรในสำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สิราวิชญ์ ยะมัง. (2562). ความสัมพันธ์ของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานของพนักงาน บริษัทที่ธุรกิจศูนย์การค้า. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบภายใน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
Asrar-ul-Haq & Muhammad et al. (2020). Congruence of perceptions between bank managers and subordinates about leadership style and performance in Pakistan. Cogent Business & Management, 7(1), 1-12. https://doi.org/10.1080/23311975.2020.1796270
Eda, K. (2013). The relationship among organizational commitment and organizational citizenship behavior – a research study on call center employees. Industrial Relations and Human Resources Journal, 15, 83-93.
Huselid, M.A., & Day, N.E. (1991). Organizational commitment, job involvement, and turnover: A substantive and methodological analysis. Applied Psychology, 76(3), 380-391.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Saksida, T. (2014). Three essays on the individual, task, and context-related factors influencing the organizational behavior of volunteers. (Dissertations of Industrial Relations and Human Resources). University of Toronto.