การจัดการสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดีของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของปัจจัยคัดสรรและประสิทธิผลสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี 2) เปรียบเทียบปัจจัยคัดสรรของโรงเรียนขนาดของโรงเรียน 3) วิเคราะห์ตัวแปรที่สำคัญของปัจจัยคัดสรรที่มีผลต่อประสิทธิผลสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี และ 4) นำเสนอการจัดการที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบบริหารจัดการสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดีที่มีประสิทธิผลของโรงเรียน เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างโดยวิธีการเลือกสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 849 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์และประสิทธิผลสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดีอยู่ในระดับมาก กระบวนการกลยุทธ์การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบขนาดโรงเรียนพบว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ขนาดใหญ่พิเศษมีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียน การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและมีประสิทธิผลสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดีมากที่สุด ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กมีกระบวนการกลยุทธ์มากที่สุด 3) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยคัดสรรพบว่าตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดการสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดีมีทั้งหมด 26 ตัวแปรจาก 74 ตัวแปรซึ่งสามารถทำนายประสิทธิผลได้ร้อยละ 99.90 และ 4) แนวทางในการจัดการสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดีประกอบด้วย 5 แนวทางคือ 1) แผนพัฒนาสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี 2) การพัฒนาบุคลากร และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี 3) การบริหารจัดการที่มุ่งสู่สถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี 4) การสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการการสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดีและ 5) การสื่อสารประชาสัมพันธ์ ความก้าวหน้าความสำเร็จของการเป็นสถานศึกษาปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กนกอร อุ่นสถานนท์. (2563). การบริหารด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 10(2), 1-14.
จิรัสสา ไสยแก้ว. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 14(69), 161-167.
ชลธิชา ร่มโพธิ์รี. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชิษณุชา ขุนจง. (2563). การจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา. สาระศาสตร์, 3(2), 287-300.
บุญทวี บุญให้และวีรพล กุลบุตร. (2563). การศึกษาเพื่อจัดทำข้อเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานศึกษาปลอดภัยตามกรอบขอสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านมาตรการป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุ: กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 6(1), 62-74.
สถาพร ชัยคินี. (2561). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 15(69), 97-108.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นโยบายปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุดาลักษณ์ บุปผาดา. (2559). ยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 12(57), 111-122.
อดิศร ดีปานธรรม. (2561). ศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
Barnhardt, J. (2020). Student Perceptions of School Safety and Security. (Dissertation in Educational and Organizational Leadership). University of Pennsylvania.
Hamlin, D. & Li, A. (2020). The Relationship between Parent Volunteering in School and School Safety in Disadvantaged Urban Neighborhoods. Journal of School Violence, 19, 362-376.
Hall, V. B. (2020). Public School Safety and Intervention Program Improvement Participatory Action Research. (Dissertation in Public Administration). Capella University.
Olhausen-Kaylor, J. (2019). Perceptions of Elementary School Parents, Principals, and School Resource Officers regarding Visitor Management Systems and School Safety. (Dissertation in Education). Lindenwood University.
Sizemore, B. B. (2021). School Leader-School Resource Officer Collaboration to Prevent School Violence. (Dissertation of Educational Leadership). Keiser University.