การพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษากลุ่มขนมกงบ้านหัวไผ่ ตำบลหัวไผ่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

Main Article Content

จิราวรรณ สมหวัง
กรพินธุ์ กลิ่นเกษร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ 2) พัฒนากระบวนการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ และ 3) การติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษากลุ่มขนมกงบ้านหัวไผ่ ตำบลหัวไผ่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรีโดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ ผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ และผู้นำกลุ่มขนมกงบ้านหัวไผ่ สำหรับผู้เข้าร่วมอบรมในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ ได้แก่ ผู้สูงอายุกลุ่มขนมกงหัวไผ่ จำนวน 10 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การจัดสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถาม การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลใช้วิธีตรวจสอบแบบสามเส้าและตรวจสอบข้อมูลโดยผู้ให้ข้อมูลหลัก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สมาชิกมีความต้องการเรียนรู้สูตรการทำขนมสามเกลอ เพื่อขยายโอกาสในการขาย 2) ผู้เข้าร่วมอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ขนมสามเกลอ” มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการนำความรู้ไปใช้ พบว่า ก่อนเข้าร่วมอบรม ผู้เข้าร่วมมีความรู้และความเข้าใจอยู่ในระดับน้อย และหลังเข้าร่วมอบรม มีความรู้และความเข้าใจอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) จากการติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุกลุ่มขนมกงบ้านหัวไผ่ พบว่า ขนมสามเกลอได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี ซึ่งกลุ่มจะผลิตขายร่วมกับขนมกง มียอดขายดีและขายหมดทุกครั้ง

Article Details

How to Cite
สมหวัง จ. ., & กลิ่นเกษร ก. . (2024). การพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษากลุ่มขนมกงบ้านหัวไผ่ ตำบลหัวไผ่ อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี . วารสารวิจยวิชาการ, 7(1), 263–278. https://doi.org/10.14456/jra.2024.20
บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). รบ.กำหนด “ผู้สูงอายุ” เป็นวาระแห่งชาติ พร้อมเตรียมแผนรับมือแบบครอบคลุม. เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/862026

ดวงพร กิจอาทร, ศิริสรณ์เจริญ กมลลิ้มสกุล และทวี วัชระเกียรติศักดิ์. (2560). การพัฒนากลุ่มอาชีพผู้สูงอายุ ขององค์การบริหารส่วนตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 6(2), 74-85.

นนทยา อิทธิชินบัญชร. (2559). แนวทางการสร้างอาชีพเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ให้กับผู้สูงอายุในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(1), 111-121.

เบญจวรรณ สีสด. (2552). รายงานการวิจัยเรื่อง โครงการแนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วมตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พิมพงา เพ็งนาเรนทร์. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ของผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 15(1), 42-58.

ลิขิตา เฉลิมพลโยธิน, นิศาชล รัตนมณี, และประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยด้านการประกอบอาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตำบลแหลมใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม: งานวิจัยแบบผสมผสานวิธีการ. Veridian E-Journal Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts), 11(2), 3280-3294.

องค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-พ.ศ. 2565). เข้าถึงได้จาก https://www.huapai-singburi.go.th/dnm_file/project/ 11840227_side1.pdf

THAI TIME สิงห์บุรี. (2561). สิงห์บุรีห่วงผู้สูงอายุ หลังพบสถิติพุ่งสูงถึง 25% ของประชากร เร่งหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หาทางบูรณาการช่วยผู้สูงวัยไม่ให้เป็นภาระต่อบุตรหลาน. เข้าถึงได้จาก https://thaitimeonline.com/content0221056101/