การประกอบสร้างความศรัทธาของศาลลูกศร จังหวัดลพบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความศรัทธาของประชาชนในจังหวัดลพบุรีที่มีต่อศาลลูกศร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล คือ ประชาชนชาวจังหวัดลพบุรี จำนวน 10 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ร่วมกับการสังเกตการทำกิจกรรมในพื้นที่ศาลลูกศร และการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผู้วิจัยนำแนวคิดวาทกรรมเชิงวิพากษ์ของ Fairclough มาใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า ศาลลูกศรเป็นสถานที่ที่อยู่ในฐานะตัวบทที่สื่อสารความศรัทธาผ่านการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ช่วยประกอบสร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นจากมุมมองของประชาชนชาวจังหวัดลพบุรี ซึ่งการสื่อสารที่นำไปสู่การประกอบสร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นในบริบทของศาลลูกศรนั้นเป็นการสื่อสารทั้งในรูปแบบวัจนภาษาและอวัจนภาษา โดยประกอบด้วยการสื่อสาร 2 ลักษณะ ได้แก่ การสื่อสารผ่านตำนานเมืองลพบุรี และการจัดองค์ประกอบภายในศาล ซึ่งการสื่อสารดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานของประเพณีประดิษฐ์ที่เป็นภาคปฏิบัติการทางวาทกรรมที่ช่วยหนุนเสริมความศรัทธาที่ประชาชนในจังหวัดลพบุรีมีต่อศาลลูกศร สำหรับประเพณีประดิษฐ์ดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ ประเพณีนมัสการศาลลูกศรประจำปี ประเพณีแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่ศาลลูกศร และธรรมเนียมการเข้าสักการะศาลลูกศรของหัวหน้าส่วนราชการที่ย้ายเข้ามาในจังหวัดลพบุรี โดยประเพณีประดิษฐ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในบริบทที่เมืองลพบุรีเป็นพื้นที่ที่ผูกโยงกับอภิตำนานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเมืองการปกครองอย่างรามเกียรติ์ซึ่งอยู่ในฐานะภาคปฏิบัติการทางสังคมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจและพลังเหนือธรรมชาติ จึงทำให้การสื่อสารเพื่อสร้างความศรัทธาเพื่อสร้างตัวบทของศาลลูกศรนั้นเป็นไปในลักษณะของการสร้างอำนาจเหนือธรรมชาติที่อิงอยู่กับชนชั้นผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้คนเข้ามาพึ่งพิงอำนาจเหนือธรรมชาติดังกล่าว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กุลพัชร์ เสนีวงศ์ ณ อยุธยา และเกรียงไกร เกิดศิริ. (2559). เรือนแถวพื้นถิ่นในภูมิทัศน์ย่านประวัติศาสตร์ตลาดล่างถนนพระราม จังหวัดลพบุรี. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(1), 77-98.
จุติรัช อนุกูล. (2565). ตำนานเมืองลพบุรี มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. ปทุมธานี : บริษัท วชิระ ครีเอชั่น จำกัด.
ชมนาด สุขเจริญ. (2531). ตำนานเมืองลพบุรี: การรับรู้และโลกทัศน์ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์). คณะศิลปะศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เตชธร ตันรัตนพงศ์. (2563). คติความเชื่อที่สะท้อนผ่านศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสงขลา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ธนวัตร มัทวีวงศ์. (2559). การวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ. (วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน). คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธีรยุทธ บุญมี. (2557). มิเชล ฟูโกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิภาษา.
ปัทมาสน์ สุนทรโอวาท. (2562). บทบาทของความเชื่อและพิธีกรรมเกี่ยวกับศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราชที่มีต่อผู้ศรัทธา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยและภาษาไทยประยุกต์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
รัตนพล ชื่นค้า. (2564). พิธีกรรมการนับถือตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ในสังคมไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วันชัย ลือพงษ์. (2565, 2 พฤศจิกายน). ตำนานเมืองลพบุรี. (กฤษฎา แก้วเกลี้ยง, ผู้สัมภาษณ์).
วรพงศ์ ไชยฤกษ์. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์: มุมมองใหม่ในการวิจัยทางภาษาไทย. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 8(1), 135-162.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2559). ลพบุรี หลังวัฒนธรรมเขมร. กรุงเทพฯ : มติชน.
ศิริรัตน์ แอดสกุล. (2560). ความรู้เบื้องต้นทางสังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชิน คล้ายวงษ์. (2565, 15 พฤศจิกายน). ตำนานเมืองลพบุรี. (ร.อ.กฤษฎา แก้วเกลี้ยง, ผู้สัมภาษณ์).
สุเนตร ม้าทอง. (2554). การประกอบสร้างความจริงทางสังคม กรณีการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของประเทศกัมพูชาของหนังสือพิมพ์มติชนกับหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). วิทยาลัยสื่อสารการเมือง : มหาวิทยาลัยเกริก.
หวน พินธุพันธ์. (2559). ประวัติศาสตร์เมืองลพบุรี. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
อรวรรณ สวัสดี. (2559). ศาลเจ้ากับชุมชน: บทบาทของศาลเจ้าที่มีต่อชุมชนบ้านปากน้ำท่าทอง ตำบลท่าทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (รายงานการศึกษาเฉพาะบุคคลศิลปศาสตรบัณฑิต). คณะโบราณคดี : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Long Gaoyun. (2557). ศาลเจ้าหน่าจาซาไท่จื้อ: ความเชื่อ รูปเคารพ และบทบาท. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 9(17), 62-72.
Fairclough, N. (1995). Critical discourse analysis. London : Longman.