แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสัมมาชีพตามแนวพุทธในชุมชนโดยใช้ขยะรีไซเคิล จากโครงการเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสัมมาชีพตามแนวพุทธโดยใช้ขยะรีไซเคิลภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นฐาน และ 2) พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับใช้เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าสัมมาชีพ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ พื้นที่วิจัยคือ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ชาวบ้านและคณะครูโรงเรียนวัดพระงาม ตำบลบ้านป้อม จำนวน 15 คน โดยใช้การประชุมกลุ่มย่อย การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ และการระดมความคิด ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาสัมมาชีพตามแนวพุทธโดยใช้ขยะรีไซเคิลภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นฐาน พบว่า ชาวบ้านและคณะครูที่สมัครเข้าร่วมโครงการวิจัยทำชุดเฟอร์นิเจอร์ได้ 3 ชุด และกระถางปลูกผัก 10 กระถาง ภายใต้คำแนะนำของวิทยากร นอกจากนี้ ชาวบ้านและคณะครูได้จัดตั้งกลุ่มอาชีพในนามว่า “ศูนย์การเรียนรู้สัมมาชีพโรงเรียนวัดพระงาม (อรรถกฤษณ์ประชารัฐ)” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ชาวบ้านในชุมชนอื่น ๆ และเพื่อจัดทำชุดเฟอร์นิเจอร์และกระถางจำหน่าย และ 2) การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับใช้เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าสัมมาชีพ พบว่า แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ใช้เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าสัมมาชีพ คือ เพจเฟซบุ๊ค และติ๊กต๊อก การใช้งานเพจเฟซบุ๊ค และติ๊กต๊อก เพื่อโปรโมทและจำหน่ายสินค้า ทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักของประชาชนที่ได้ชมคลิปวิดีโอบนช่องทางดังกล่าว และมีลูกค้าสั่งซื้อชุดเฟอร์นิเจอร์และกระถางจากชาวบ้านและคณะครู
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2561). แนวทางการสร้างสัมมาชีพชุมชน ปี 2562. กรุงเทพฯ : บริษัท บีทีเอสเพรส จำกัด.
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2559). แผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564). กรุงเทพฯ : บริษัท แอคทีฟพริ้นท์ จำกัด.
กระทรวงมหาดไทย. (2564). ภารกิจสำคัญของกรมการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน.
กระทรวงแรงงาน. (2565). แผนปฏิบัติการดิจิทัลของกระทรวงแรงงาน (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ : กลุ่มงานวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน.
ฐานเศรษฐกิจ. (2565). ว่างงานยังสูง 5.5 แสนคน สศช. จับตาเงินเฟ้อขย่มคนรายได้น้อยอยู่ลำบาก. เข้าถึงได้จาก https://www.thansettakij.com/economy/538012
เดลินิวส์. (2563). อยุธยาขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ. เข้าถึงได้จาก https://d. dailynews.co.th/article/796079/
ผการัตน์ พินิจวัฒน์. (2561). การส่งเสริมอาชีพให้ชุมชน: กรณีศึกษา บ้านโพนไทร ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดเลย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(3), 925-935.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. (2562). Circular Economy เศรษฐกิจหมุนเวียนที่ทุกคนควรรู้. ปทุมธานี : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย.
อาทิตย์ สัญญากร, จอมขวัญ สุวรรณรักษ์ และเปรมระพี อุยมาวีรหิรัญ. (2022). มโนทัศน์การตลาดบริการของธุรกิจคาเฟแนวอัตลักษณ์แบบสร้างสรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(7), 2990-2999.
อุมาวดี เดชธำรง และดาศรินทร์พัชร์ สุธรรมดี. (2565). การพัฒนาช่องทางการตลาดและการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ตำบลโคกมั่งงอย อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 7(1), 123-136.