แนวทางการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจังหวัดชัยนาทตามหลักอปริหานิยธรรม 7

Main Article Content

เอกวิทย์ ทับทวี
พระมหาอุดร อุตฺตโร
ปฏิธรรม สำเนียง
พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อสภาพปัญหาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร และ 3) นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจังหวัดชัยนาทตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 237 คน วิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วเปรียบเทียบการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบที และการทดสอบเอฟ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 รูป/คน แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร ในภาพรวมมีสภาพปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (gif.latex?\bar{X} = 3.13, S.D. = 0.29) 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อสภาพปัญหาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหาร พบว่า เพศ อายุ ตำแหน่ง และประสบการณ์ที่ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน และ 3) แนวทางการแก้ไขปัญหาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจังหวัดชัยนาทตามหลักอปริหานิยธรรม 7 ดังนี้ 1) ด้านการเอาชนะ ผู้บริหารสถานศึกษาควรหมั่นประชุม พบปะสังสรรค์ระหว่างบุคคลที่ทำงานร่วมกัน 2) ด้านการร่วมมือ มุ่งเน้นให้ครูและบุคลากรร่วมกันวางแผนงาน ตัดสินใจ ปฏิบัติ และประเมินผล 3) ด้านการประนีประนอม ควรจัดประชุมพบปะเจรจาด้วยความประนีประนอมกันกับครู 4) ด้านการหลีกเลี่ยง ผู้บริหารสถานควรควบคุมสถานการณ์ความตึงเครียด ส่งเสริมและให้การสนับสนุนครู แก้ไขปัญหาโดยยึดหลักข้อปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่ได้ตกลงกันไว้ และ 5) ด้านการยอมให้ ควรส่งเสริมให้ครูที่ปฏิบัติงานร่วมกัน รู้จักเวลาและตรงต่อเวลา จัดสรรทรัพยากร ตลอดจนการมอบหมายงานตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล

Article Details

How to Cite
ทับทวี เ., พระมหาอุดร อุตฺตโร, สำเนียง ป. ., & พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ. (2024). แนวทางการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจังหวัดชัยนาทตามหลักอปริหานิยธรรม 7. วารสารวิจยวิชาการ, 7(2), 129–146. https://doi.org/10.14456/jra.2024.39
บท
บทความวิจัย

References

เขมานันท์ ขบวนฉลาด. (2564). การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมเพื่อการบริหารจัดการขององค์การบริหารส่วนตำบลประทัดบุ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 12(1), 133-142.

ดิเรก อุทรทวิการ ณ อยุธยา. (2561). กลยุทธ์การบริหารความขัดแย้งในองค์การของผู้บริหารโรงเรียนอ่างศิลาพิทยาคม อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระมหายุทธพิชัย สิริชโย และธิติวุฒิ หมั่นมี. (2561). การบริหารงานตามหลักอปหานิยธรรม. วารสารสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(2), 139-147.

ลภัสลดา สมบูรณ์. (2562). การบริหารงานคุณภาพในองค์กร. เชียงใหม่ : วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่.

ศิริพงษ์ เศาภายน. (2552). หลักและกระบวนการบริหารการศึกษา: ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.

เศรษฐพล บัวงาม และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2564). การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2. วารสารวิจยวิชาการ, 4(3), 229-240.

สมุทร ชำนาญ. (2556). ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎี และปฏิบัติ. ระยอง : พี.เอส. การพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. (2565). ข้อมูลโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. เข้าถึงได้จาก http://eme1.obec.go.th/~eme 62/ schoolonfed.php?module=school&option=show_school&area=181.

สุกัญญา เพาะแป้น. (2552). เปรียบเทียบวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาสระแก้ว เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

อภิชาติ เบิกประโคน. (2561). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งในโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

Johnson, D. W. & Johnson, F. P. (1987). Joining Together: Group Theory and Group Skills. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall.

Thomas, K.W. & Kilman, R.H. (1987). Conflict management skills and organization. New York : McGraw Hill.