แนวทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ตามหลักธรรมาภิบาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) นำเสนอแนวทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ตามหลักธรรมาภิบาล โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธี แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน โดยวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร และครู จำนวน 279 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เช่น ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิจัยเชิงคุณภาพแนวทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ตามหลักธรรมาภิบาล ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหาร/ครู มีความคิดเห็นต่อสภาพทางการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด พิจารณารายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ บริหารงานงบประมาณ รองลงมา คือ บริหารงานบุคคล ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ บริหารงานทั่วไป 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารจัดการของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นการเปรียบเทียบด้านอายุ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ตามหลักธรรมาภิบาล พบว่า การบริหารงานวิชาการ ควรร่วมวางแผน และปฏิบัติ การปรับปรุง พัฒนาหลักสูตร มีการตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร การบริหารงานบุคคล ควรกำหนดหน้าที่ มอบหมายงานตามความรู้ ความสามารถ ความเสมอภาค สร้างขวัญกำลังใจ ทำงานเป็นทีม การบริหารงานงบประมาณ จัดสรรงบประมาณตามแผนปฏิบัติงาน ตามกฎระเบียบ การเงิน พัสดุ ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล และการบริหารงานทั่วไป ควรมีการประสานงาน ส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ ระดมทรัพยากร สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
นิตยา คงเกษม. (2562). แนวทางการบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายพระบางเจ้าพระยาเมือง 2 เขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษานครสวรรค์ เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2552). การร่วมมือของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
ปธาน สุวรรณมงคล. (2558). การบริหารงานภาครัฐกับการสร้างธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
พระปลัดไพรวัลย์ ชาคโร (ศรีเมือง). (2565). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดการศึกษาเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารร้อยแก่นสาร, 7(1), 187-205.
พระมหาวินัย สิริภทฺโท (แช่มสายทอง). (2563). รูปแบบการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่มีประสิทธิภาพ สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 7(3), 242-253.
พระมหาสุทัศ สุมสฺสโน, (นุราช). (2556). การศึกษาบทบาทของบริหารโรงเรียนวิถีพุทธระดับประถมศึกษา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบันฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วาทิน เพียรศิริ. (2559). การบริหารโดยใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา เครือข่ายการจัดการศึกษาที่ 20 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1. (2563). แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ.2563-2565). พิจิตร : กลุ่มนโยบายและแผน. (อัดสำเนา)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมาย. (2546). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. กรุงเทพฯ : สำนักงานการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : บริษัทปริ้นซ์กราฟฟิค จำกัด.
สุจิตรา บุญยรัตพันธ์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ : เสมาธรรม.
อชิรญาณ์ คชาบาล. (2561). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต17. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). คณะครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยรำไพพรรณี.
อุไรวรรณ แก้วบาง. (2560). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยปทุมธานี.