การพัฒนากระบวนการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ

Main Article Content

พระครูอุทิตปริยัติสุนทร
สมบุญ ทิพรังศรี
พระครูอุทิศธรรมพินัย
ธนพัฒน์ เฉลิมรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการท่องเที่ยว 2) พัฒนากระบวนการท่องเที่ยว และ 3) บูรณาการกระบวนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม เมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยในเชิงปริมาณ แจกแบบสอบถามแบบบังเอิญ จำนวน 400 ชุด การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก 17 คน ประชุมกลุ่มย่อย 12 คน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการการจัดงานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไท ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการท่องเที่ยววัฒนธรรมวิถีพุทธ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการส่งเสริมการตลาด มีระดับความคิดเห็นมากที่สุด (4.28) รองลงมา คือ ด้านการให้บริการ มีระดับความคิดเห็นมาก (4.18) และน้อยที่สุดคือ สถานที่ในการจัดงาน (3.88) 2) การพัฒนากระบวนการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยงานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไท มีการพัฒนากระบวนการท่องเที่ยวทั้งหมด 4 กระบวนการ ประกอบด้วย 2.1) กระบวนการสื่อสาร ช่องทางในการสื่อสาร ข้อมูลข่าวสาร สถานที่ตั้ง ประวัติ ความเป็นมาที่สำคัญ 2.2) กระบวนการการตลาด การจัดการร้านค้าของฝาก สินค้าชุมชน สินค้าภายในงาน 2.3) กระบวนการการให้ความรู้ ได้ให้ความรู้ผ่านการจัดกิจกรรมในงานด้านวัฒนธรรม 2.4) กระบวนการจัดการในการท่องเที่ยว มีการวางแผนโดยชุมชน การจัดภูมิทัศน์ ภายในงาน และ 3) การบูรณาการกระบวนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยการบูรณาการจากชุมชนสู่วัด จากวัดสู่ชุมชน ดังนี้ การบูรณากิจกรรมสักการะพระพุทธชินราชปิดทองรอยพระพุทธบาทจำลอง ทำขวัญนาคอุปสมบทนาคหมู่ การอนุรักษ์การท่อเสื่อกก การทำขวัญข้าว การแสดงและการประกวดร้องเพลง การแข่งขันกีฬา การประกวดขบวนรถแห่นาคการแสดงหน้านาค การประกวดการจัดสำรับคาวหวานตามขนบธรรมเนียมประเพณีโบราณ ฯลฯ

Article Details

How to Cite
พระครูอุทิตปริยัติสุนทร, ทิพรังศรี ส. ., พระครูอุทิศธรรมพินัย, & เฉลิมรัตน์ ธ. . (2024). การพัฒนากระบวนการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ. วารสารวิจยวิชาการ, 7(2), 39–52. https://doi.org/10.14456/jra.2024.33
บท
บทความวิจัย

References

เดโช แขน้ำแก้ว และคณะ. (2561). การศึกษาความพร้อมรองรับการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้านการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(1), 91-104 .

เผด็จ นุ้ยปรี. (2565, 18 มกราคม). การพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ. (ประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).

กิติยา พฤกษากิจ และคณะ. (2561). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตำบลจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 10(1), 246-257.

จังหวัดอุทัยธานี. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับทบทวน). (อัดสำเนา)

ประคอง มาโต และคณะ. (2563). การพัฒนากระบวนการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามแนวทาง พระพุทธศาสนา และวัฒนธรรมของชุมชนเมืองพระชนกจักรี อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(7), 14-31.

พรศิลป์ บัวงาม และอุทุมพร ศรีโยม. (2564). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวตามเกณฑ์มาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(41), 230-241.

ฤดี เสริมชยุต. (2563). กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด สำหรับการท่องเที่ยวชุมชน. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 2(4), 51-61.