การพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาพื้นที่การท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ 2) พัฒนากระบวนการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ และ 3) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยรูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานวิธี คือ 1) การวิจัยในเชิงปริมาณ โดยการแจกแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 กับนักท่องเที่ยว ผู้นำชุมชน กลุ่มผู้แทนประชาชน ปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ/ท้องถิ่น กลุ่มศิลปิน เยาวชน นักวิชาการด้านวัฒนธรรม ด้านการท่องเที่ยว ด้านพระพุทธศาสนา แจกแบบสอบถามแบบบังเอิญ จำนวน 400 ชุด 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และแบบอย่างที่ดี การสัมภาษณ์เชิงลึกเลือกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง จำนวน 35 คน ประชุมกลุ่มย่อยจำนวน 2 ครั้ง ๆ จำนวน 12 คน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ทำกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่ เช่นพื้นที่การแสดงศิลปวัฒนธรรม พื้นที่กีฬา โดยทำการเลือกชุมชนงานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไทยที่โดดเด่นด้านวัฒนธรรมวิถีพุทธ ประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 670 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยววัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยการพัฒนาพื้นที่งานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไท โดยพัฒนาพื้นที่การแสดง และพื้นที่กิจกรรมทางวัฒนธรรมวิธีพุทธ 2) การบูรณาการกระบวนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมวิถีพุทธ โดยการบูรณาการกระบวนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม จากชุมชนสู่วัด จากวัดสู่ชุมชน กิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรม กิจกรรมการกีฬา และกิจกรรมทางวัฒนธรรมด้านพระพุทธศาสนา 3) ส่งเสริมในยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ ซึ่งมีกลยุทธ์ที่ใช้คือเพิ่มศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถการบริหารจัดการและการแข่งขัน และพัฒนาบุคลากร สินค้า และบริการด้านการท่องเที่ยว ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน วัด หน่วยงานภาครัฐในจังหวัดอุทัยธานี ในการดำเนินงานด้านพื้นที่ ด้านกิจกรรม ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในงานบุญเดือนสามสืบสานประเพณีวิถีชาวอู่ไท
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2546). นโยบายและแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
จังหวัดอุทัยธานี. (2566). แผนพัฒนาจังหวัดอุทัยธานี พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับทบทวน). (อัดสำเนา)
ดำรง นพรัตน์. (2565, 5 มกราคม). การพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ. (ประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).
เผด็จ นุ้ยปรี. (2565, 18 มกราคม). การพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ. (ประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).
พระใบกาสุพจน์ ตปสีโล. (2557). กระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมขององค์กรชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 2(1), 1-18.
พระราชอุทัยโสภณ. (2564, 20 ธันวาคม). การพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ. (ประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).
มณีนทร กีรติวัฒน์. (2559). การให้ความหมายรูปแบบและกลยุทธ์ทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษา บ้านศิลปิน คลองบางหลวง กรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1 (น. 115). นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์.
รังสันติ พูลเพิ่ม. (2565, 5 มกราคม). การพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ. (ประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).
ศิลาวัฒน์ ชัยวงศ์ และคณะ. (2564) การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปะของกลุ่มจังหวัดล้านนา. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุภาณี จันทร์พุฒ. (2565, 5 มกราคม). การพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองพระชนกจักรีวัฒนธรรมวิถีพุทธ. (ประคอง มาโต, ผู้สัมภาษณ์).