จิตตภาวนา: ประสบการณ์พิเศษและปรากฏการณ์จากการฝึกฝนอบรมจิต

Main Article Content

มนตรี เพชรนาจักร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและทบทวนแนวคิดเรื่องการพัฒนาจิต และประสบการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาจิตในพุทธศาสนา 2) ศึกษาประสบการณ์พิเศษและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาจิตตามวิธีปฏิบัติในพุทธศาสนา และ 3) วิเคราะห์ประสบการณ์พิเศษและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาจิตตามวิธีปฏิบัติในพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย การสำรวจ การสัมภาษณ์และการทดลองปฏิบัติ นำเสนอด้วยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษา พบว่า 1) รูปแบบของการพัฒนาจิตในพุทธศาสนามี 2 คือ การพัฒนาจิตเพื่อให้จิตสงบ และการพัฒนาจิตเพื่อให้เกิดความรู้แจ้งชัด หนทางเดียวของผู้ต้องการความรู้แจ้งชัดคือการใช้สติเป็นฐาน (สติปัฏฐาน) ด้วยการระลึกรู้กาย เวทนา จิต และธรรม ตามจริงที่เป็นปัจจุบัน ประสบการณ์พิเศษที่เป็นผลจากการพัฒนาจิตมี 3 คือ ความสุขจากความสงบ โลกิยธรรม และโลกุตตรธรรม 2) จากการพัฒนาจิตตามวิธีปฏิบัติในพุทธศาสนา พบว่า นักปฏิบัติชั้นครู/อาจารย์ มีประสบการณ์พิเศษ คือ จิตสงบ เข้าใจความจริงของชีวิต มองเห็นจิตที่ปรุงแต่ง พบอำนาจพิเศษของจิต เช่น การรู้วาระจิตของคนอื่น การถอดจิตได้ การรู้อนาคต ตลอดถึงความสามารถในการทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ส่วนนักการศึกษา/ผู้กำลังเรียนรู้ มีประสบการณ์พิเศษคือ ความรู้สึกเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี การละวางตัวตน จิตนิ่ง หายกลัว เป็นต้น พบปรากฏการณ์ขณะพัฒนาจิต คือ การมองเห็นตัวเอง มีความรู้สึกละเอียด รู้สึกตัวลอย รู้สึกไม่มีตัวตน เป็นต้น และจากการทดลองปฏิบัติพบว่า ปลายสุดของความง่วงคือความโล่งสว่าง มีอาการอุ่นบนศีรษะ ตัวโยกโคลง เป็นต้น และ 3) ประสบการณ์พิเศษและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาจิตนั้น เป็นสภาวะที่มีอยู่และเกิดขึ้นได้ แต่จะพบใน 2 แบบคือ การปรากฏทางมโนภาพ และ การปรากฏทางกายภาพ

Article Details

How to Cite
เพชรนาจักร ม. . (2024). จิตตภาวนา: ประสบการณ์พิเศษและปรากฏการณ์จากการฝึกฝนอบรมจิต. วารสารวิจยวิชาการ, 7(2), 287–304. https://doi.org/10.14456/jra.2024.48
บท
บทความวิจัย

References

ครูบาฉ่าย. (2566). พระสิ้นคิด Live สนทนาธรรม. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/ watch?v=ntCAyN CKA_w.

ปิยะดี ประเสริฐสม และคณะ. (2564). วิเคราะห์ผลการศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานด้วยสัญญาณคลื่นสมองระบบวิทยาศาสตร์. เข้าถึงได้จาก http://crs.mahidol.ac.th/thai/activity_ news_05-13-59.htm.

พระธรรมโกศาจารย์ (องอาจ ฐิตธมฺโม). (2563). เล่าให้ลูกหลานฟัง. นครปฐม : สาละพิมพการ.

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน). (2559). วิธีฝึกจิตให้เป็นสมาธิ. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=SUJTRiFGd_I.

พระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน). (2563). หลวงตามหาบัว พูดถึงหลวงปู่มั่น. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=YfWVkA0IS9A.

พระปลัดสมภาร สมภาโร พระธรรมวัชรบัณฑิต และประพันธ์ ศุภษร. (2564). ผลของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อสุขภาพจิตของบุคคล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(6), 2260-2271.

พระมหาบุญเลิศ ธัมมทัสสี และคณะ. (2548). ศึกษาปรากฏการณ์วิธีการสอนวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐานสี่ในปัจจุบัน. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวุฒิชัย วุฑฺฒิชโย. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบการพัฒนาจิตของกรรมฐาน 5 สายในสังคมไทย. วารสารธรรมธารา, 6(1), 19-22.

พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร). (2537). หลวงพ่อธุดงค์. กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์ (1988) จำกัด.

พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย), (2565). ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างฝึกสมาธิพร้อมแนวทางแก้ไขเบื้องต้น. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v =tJR8a450FM0.

พระสรวง ปริสุทฺโธ. (2562). ผลบุญที่แตกต่าง การเวียนว่ายตายเกิด. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=tqY69ryQTJo

พระสินทรัพย์ จรณธัมโม. (2565). สนทนาธรรมกับพระสิ้นคิด. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube. com/watch?v=JuoHx0KsKzA

พวน โฆษิตศักดิ์และวัชรินทร์ ปิยธมฺโม. (2559). ศึกษาเปรียบเทียบการปฏิบัติกรรมฐาน ตามแนวอานาปานสติของพุทธทาสภิกขุกับเอส.เอน.โกเอ็นก้า. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 7(2), 82-92.

พุทธทาสภิกขุ. (2533). อานาปานสติภาวนา. กรุงเทพฯ : หจก.การพิมพ์พระนคร.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิจัย เทียนถาวร. (2562). วิปัสสนากรรมฐาน. เข้าถึงได้จาก https://www.matichon.co.th/article/news_1334805.

วิชัย คำธร, ปรัชญา แก้วแก่น และพีร วงศ์อุปราช. (2562). ผลของการปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบทซ์ที่มีต่อการควบคุมอารมณ์. เข้าถึงได้จากhttps://buuir.buu.ac.th/handle/1234567890/4260.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2561). หลักการทั่วไปของสติปัฏฐาน. เข้าถึงได้จากhttps://www.youtube.com/watch?v=Vu1Wt3RvjXo.

หอมหวน. (2564). การนั่งสมาธิกับผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์. เข้าถึงได้จาก https://www.homhuan.com/news/detail.php?id=25.

อังคณา พึ่งตำบล. (2565). แนวทางการใช้วิปัสสนากรรมฐานบำบัดโรคซึมเศร้า. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9(2), 126-140.

อีจัน. (2564). พระตัดคอตัวเองถวายเป็นพุทธบูชา. เข้าถึงได้จาก https://www.ejan.co/general-news.