แนวทางการบริหารสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วรวุฒิ อรชุน
พระมหาสกุล มหาวีโร
ชาลี ภักดี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 10 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ 1 คน รองผู้อำนวยการ 1 คน ครูและบุคลากร 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแนวคำถามการสนทนากลุ่มโดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบ PDCA MODEL มี 4 ขั้นตอน คือ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงาน ด้านการกำกับติดตาม และ ด้านวัดผลและประเมิน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันการบริหารสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดกาเรียนการสอน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า 1) ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายให้ชัดเจนในการพัฒนาครูอย่างเป็นขั้นตอนทั้งระบบและเน้นการทำงานเป็นทีม ผู้บริหาร ควรส่งเสริม ให้ครูสามารถพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ ครูจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการใช้งานเทคโนโลยี และ 2) แนวทางการบริหารสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดกาเรียนการสอน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่ พบว่า 2.1) มีการวางแผนงานและวิธีดำเนินงานในการพัฒนาสมรรถครูด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน 2.2) ดำเนินการตามแผนการที่ได้วางแผนไว้ตามแผนงานที่ได้วางไว้ 2.3) หลังจากมีดำเนินงานไปสักระยะ ต้องมีการตรวจสอบความคืบหน้าในการดำเนินงาน และ 2.4) มีการวัดและประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน

Article Details

How to Cite
อรชุน ว. ., พระมหาสกุล มหาวีโร, & ภักดี ช. . (2024). แนวทางการบริหารสมรรถนะครูด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจยวิชาการ, 7(3), 193–204. https://doi.org/10.14456/jra.2024.69
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา น้อยพญา. (2552). การบริหารการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนทุ่งพร้าว (เพ้กกี้ฮิทค็อก) อำเภอแม่สรวย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 2. (การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ชนกพร ไตรรัตน์มณีโชติ. (2555). ความต้องการพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพของครูโรงเรียนเอกชน. พื้นที่การศึกษาสงขลา เขต 1 จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ชวนพิศ พร้อมสุข. (2559). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 (พะเยาประชานุกูล) อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(19), 59-70.

โชติ แย้มแสง. (2557). กลยุทธ์การดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาปฐมวัยในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการศึกษา). วิทยาลัยครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พีระวัตร จันทกูล และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2560). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 225-237.

ไพวรรณ คำดี และคณะ. (2551). การปฏิบัติงานของครูผู้สอน ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ในทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน. สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาหนองคาย เขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(2), 191-204.

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31 จังหวัดเชียงใหม่. (2563). รายงานผลการปฏิบัติงาน (SAR). (อัดสำเนา)

ฤตินันท์ สมุทร์ทัย. (2556). การวิจัยนำร่องการพัฒนาหลักสูตรการผลิตครูสำหรับศตวรรษที่ 21. (รายงานการวิจัย). เชียงใหม่ : โครงการอุดหนุนการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริพร จิตอารีย์. (2549) การจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. (2546). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาครู2549-2551. นครปฐม : ฝ่ายวิชาการ โครงการพัฒนา ระบบการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2563) รายงงานประจำปี 2563 สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (รายงานประจำปี 2563). สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : ซัคเซสพับลิเคชั่น จำกัด.

อรรถพล เชาวน์ประยูร. (2551). แนวปฏิบัติในการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.