รูปแบบการพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางที่พึ่งทางใจของชุมชนเมืองภายใต้กรอบบวร: ศึกษากรณี ชุมชนวัดสารอด กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ
พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์
อุทัย สติมั่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพบริบทปัญหาและความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางที่พึ่งทางใจของชุมชนเมืองและแนวคิดทฤษฎีตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางที่พึ่งทางใจของชุมชนเมืองตามแนวคิดทางพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) พัฒนาและนำเสนอรูปแบบการพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางที่พึ่งทางใจของชุมชนเมืองภายใต้กรอบบวรของชุมชนวัดสารอด กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มให้ผู้ข้อมูลสำคัญ รวมจำนวน 50 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) วัดสารอดในปัจจุบันขาดคณะทำงานพระสงฆ์ที่มีความรู้ความเข้าใจและสามารถการบริหารจัดการวัดทำให้ประเพณี ภูมิปัญญาของชุมชนบางอย่างค่อย ๆ จืดจางหายไป 2) หลักพุทธสันติวิธีที่เอื้อต่อการพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางที่พึ่งทางใจของชุมชน คือ การมีส่วนร่วมของบวรในการร่วมกันคิด ทำ พัฒนา รับผลประโยชน์ มีหลักการพัฒนา 4 ประการ ตามหลักอริยสัจ 4 คือ (1) รู้ปัญหาให้ชัด (2) ขจัดเหตุไม่ละเลย (3) ไม่เฉยเมยต่อเป้าหมาย (4) ฉายวิธีอย่างถูกต้อง และ 3) รูปแบบการพัฒนาวัดเพื่อเป็นศูนย์กลางที่พึ่งทางใจของชุมชนเมืองภายใต้กรอบบวร  ผู้วิจัยได้พัฒนาองค์ความรู้ใหม่ คือ SAROD’S MODEL มีองค์ประกอบ 6 ประการ ดังต่อไปนี้ คือ 1) S = Symbol สัญลักษณ์ 2) A = Activity กิจกรรม 3) R = Relationship ความสัมพันธ์ 4) O = Office สำนักงาน 5) D = Development การพัฒนา และ 6) S = Sustainable ยั่งยืน องค์ประกอบมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันและเกิดองค์ความรู้ใหม่ คือ (1) สถานที่พรั่งพร้อม (2) ชาวชุมชนพร้อมเพียง (3) ความสุขเพิ่มพูน (4) ปัญญาพรั่งพรู

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์. (2561). ชุมชนสันติสุขในพุทธศตวรรษที่ 21: ถอดบทเรียนชุมชนสันติสุขในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 17-23.

ทนงชัย บูรณพิสุทธิ์. (2545). บทบาทของวัดกับชุมชนเมือง ในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาชนบทศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธันย์นิชา วิโรจน์รุจน์. (2561). ความมั่นคงทางจิตใจ : ลดความเสี่ยงช่วยแก้ปัญหาสังคม. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 5(2), 141-150.

บ้านเมือง. (2565). เล็งพัฒนาวัดสารอดเป็น “วัดต้นแบบการศึกษาเพื่อปัญญาและคุณธรรม”. เข้าถึงได้จาก https://www.banmuang.co.th/news/education/272924.

ประสิทธิ์ สระทอง. (2560). บทบาทของวัดที่มีต่อสังคมในการก้าวเดินในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(1), 936-951.

พระครูศรีมหาชยาภิมณฑ์ (ประเสริฐพร ชาวหา). (2560). บทบาทในการพัฒนาวัด สังคม และวัฒนธรรมของพระสังฆาธิการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระปลัดบุญเลิศ กตปุญฺโญ (สุทธิมาลย์). (2560). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธ: กรณีศึกษา วัดใหญ่บางปลากด. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเสงี่ยม สุวโจ (มณีวงษ์). (2561). รูปแบบการพัฒนาวัดสร้างสุขด้วยสัปปายะตามแนวพุทธจิตวิทยา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระศรีสิทธิวิเทศ (ธวัชชัย รสเลิศ) และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2563) วิวัฒนาการวัดในพระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 7(3), 74-85.

พระสุธีรัตนบัณฑิต ดร. (สุทิตย์ อาภากโร) และคณะ. (2560). การท่องเที่ยวทางศาสนาและวัฒนธรรม: นโยบาย ผลกระทบ และการจัดการเชิงเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกร่วมทางประวัติศาสตร์และทางวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียน. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มีชัย ภัทรเปรมเจริญ. (2561). สันตินวัตกรรมการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม มุ่งศึกษาวิเคราะห์กรณีปัญหามลพิษทางอากาศจากการฌาปนกิจ. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์ และคณะ. (2561). การศึกษารูปแบบการพัฒนาการท่องเที่ยววิถีวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา จังหวัดลำปาง. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2565). วัดกับการท่องเที่ยว : พุทธบูชาและพุทธพาณิชย์. เข้าถึงได้จาก https://www. khonthai4-0.net/system/resource/file/kpfgo_content_ attach _file_299_1.pdf?date=2021-12-14%2011:22: 29.1.

ศิริภัทรา รักษาพล. (2558). บทบาทของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนพหุวัฒนธรรมตามหลักพุทธสันติวิธี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการคณะสงฆ์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.