การสื่อสารด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน ผ่านรายการโทรทัศน์ กรณีศึกษา รายการจับจ้องมองจีน

Main Article Content

กอบกิจ ประดิษฐผลพานิช
ทัณฑกานต์ ดวงรัตน์
วรพงษ์ ปลอดมูสิก
ฐิติพงศ์ อินทรปาลิต
รังสรรค์ พงษ์สุน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและหน้าที่ของสื่อโทรทัศน์ในการนำเสนอเนื้อหาด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน ผ่านรายการจับจ้องมองจีน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในรายการ จับจ้องมองจีน ที่เผยแพร่ระหว่างวันที่ 23 เมษายน 2565-4 มีนาคม 2566 รวมทั้งสิ้นจำนวน 46 ตอน ผลการศึกษา พบว่า รายการ จับจ้องมองจีน มีวิธีการถ่ายทอดเนื้อหาในหลากหลายด้าน อาทิ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี ด้านการแพทย์ ด้านการศึกษาและด้านสื่อมวลชน จากประเทศจีนสู่ประเทศต่าง ๆ โดยเนื้อหาที่ปรากฏในการสื่อสารมากที่สุด คือ ด้านศิลปวัฒนธรรม โดยบทบาทและหน้าที่ของสื่อโทรทัศน์ เป็นตัวกำหนดวาระข่าวสารในมิติของการเผยแพร่ความรู้ การประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมจีน เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน

Article Details

How to Cite
ประดิษฐผลพานิช ก., ดวงรัตน์ ท., ปลอดมูสิก ว., อินทรปาลิต ฐ., & พงษ์สุน ร. (2024). การสื่อสารด้านศิลปวัฒนธรรมเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-จีน ผ่านรายการโทรทัศน์ กรณีศึกษา รายการจับจ้องมองจีน. วารสารวิจยวิชาการ, 7(3), 367–380. https://doi.org/10.14456/jra.2024.80
บท
บทความวิชาการ

References

กฤติยา รุจิโชค. (2553). กระบวนการทำข่าวของนักข่าวสำนักข่าวต่างประเทศในประเทศไทยต่อกรณีวิกฤติการณ์เมืองไทย พ.ศ. 2552-2553. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน). คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เจิ้ง หมิ่น และไพลิน เชิญเพชร. (2561). กรณีศึกษาทฤษฎีภาพวาดโดยศิลปินจีน ซูซื่อ การศึกษาเชิงวิเคราะห์ปรัชญาแนวคิดเล่าจื่อและจวงจื่อในภาพวาดแบบปัญญาชนดั้งเดิม “เหวินเหรินฮว่า”. คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. วารสารจีนศึกษา, 11(1), 115-141.

เดอะพีเพิล. (2563). จีน-ไทย จากรัฐบรรณาการ สู่ความเป็น พี่-น้อง. (2563). เข้าถึงได้จาก https://www.thepeople.co/read/22113

ธัญนภัทร์ คูลิ้มจีรสิริ. (2555). อุตสาหกรรมหยกในประเทศจีน. (สารนิพนธ์อักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียศึกษา). คณะอักษรศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรพิพัฒน์ ราชกิจกำธร และสุภาวดี โพธิเวชกุล. (2565). การเชิดสิงโต: ศิลปะการแสดงวัฒนธรรมย่านฝั่งธนบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง). คณะศิลปกรรมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พีรดา นิธินนท์. (2555). ตรุษจีน: ความคิดความเชื่อในรูปแบบพิธีกรรมธรรมเนียมปฏิบัติและข้อห้าม. (สารนิพนธ์อักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียศึกษา). คณะอักษรศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มติ ทาเจริญศักดิ์. (2560). กระบวนการถ่ายทอดทางสังคมในการเล่นหมากล้อม และผลของการเล่นหมากล้อมต่อการพัฒนาการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ : วิจัยผสานวิธี. (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เหยา ซือฉี. (2565). สัมพันธบทการอ้างอิงบทกวีจีนโบราณกับภาพลักษณ์ประเทศจีน : กรณีศึกษาวาทกรรมข่าวโรคระบาดโควิด-19. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(1), 464–490.

McCombs, M.E. & Shaw, D.L. (1972). The Agenda-setting Function of Mass Media. The Public Opinion Quarterly, 36(2), 176-187.