แนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

เพ็ญแข คงเพชรศักดิ์
วัฒนะ กัลยาณ์พัฒนกุล
สามารถ สุขุประการ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพคำสอนเรื่องกฎแห่งกรรมในพุทธศาสนา 2) ศึกษาสภาพความเชื่อและพฤติกรรมเรื่องกฎแห่งกรรมของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดนครสวรรค์ และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดนครสวรรค์ วิธีดำเนินการวิจัย บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาค้นคว้าเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้วเก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้วิธีสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 22 รูป/คน ได้แก่ พระสังฆาธิการ อุบาสก และอุบาสิกา และการสนทนากลุ่ม) โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 รูป/คน ได้แก่ นักวิชาการด้านพุทธศาสนา พระสงฆ์นักเผยแผ่พุทธศาสนา และอุบาสิกา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาอรรถาธิบาย ผลการวิจัย พบว่า 1) คำสอนเรื่องกรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนา อธิบายความหมายและลักษณะของกรรมมูลเหตุให้เกิดกรรม การให้ผลของกรรมตามเหตุปัจจัย และการปฏิบัติต่อกรรมที่มีเป้าหมายสูงสุด คือ การดับกรรมเพื่อเข้าสู่พระนิพพาน 2) สภาพความเชื่อและพฤติกรรมเรื่องกฎแห่งกรรมของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดนครสวรรค์ ด้วยชาวพุทธไทยมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ดังนั้น จึงนิยมทำบุญ การทำบุญเกิดจากความเชื่อว่ามีอานิสงส์ทำให้ไปบังเกิดในสุคติภูมิ และ 3) แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดนครสวรรค์ ให้มีการปลูกฝังความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมจากครอบครัว โรงเรียน วัด ตั้งแต่เด็กๆ เพื่อจะได้มีพฤติกรรมที่มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปทำให้ไม่สร้างบาปอกุศลกรรมซึ่งเป็นปัญหาความเดือดร้อนต่อตนเองและสังคมต่อไป

Article Details

How to Cite
คงเพชรศักดิ์ เ. ., กัลยาณ์พัฒนกุล ว. ., & สุขุประการ ส. . (2024). แนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรมของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดนครสวรรค์ . วารสารวิจยวิชาการ, 7(5), 303–314. https://doi.org/10.14456/jra.2024.101
บท
บทความวิจัย

References

พระวิพัฒน์ อตฺตเปโม (เอี่ยมเปรมจิต). (2553). การศึกษาวิเคราะห์หลักกรรมและการให้ผลของกรรมในอรรถกถาธรรมบท. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2545). ท่านพุทธทาสกับการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มัลลิกา ชมสุวรรณ. (2560). วิเคราะห์ความเหมือนกันระหว่างกฎแห่งกรรมกับกฎแห่งการดึงดูด. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2531). กรรมตามนัยแห่งพุทธธรรม. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ พริ้นติ้งกรุ๊พ.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ : มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ.

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2565). สถิติฐานความผิดคดีอาญา (คดี 4 กลุ่ม) หน่วยงานทั่วประเทศ. เข้าถึงได้จาก https://data.go.th/dataset/rtp_crimes_stat

สุรวัฒน์ หิรัณย์สิริกุล. (2563). แนวทางการนำเสนอเรื่องกรรมที่สอดคล้องกับสังคมไทยปัจจุบัน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(2), 138-154.