การบริหารความเสี่ยงในภาวะวิกฤตศึกษากรณีการบริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของรัฐบาลช่วงปี พ.ศ. 2563-2564 ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงในการบริหารงานในภาวะวิกฤต และศึกษากรอบการบริหารความเสี่ยงในภาวะวิกฤต ศึกษากรณีการบริหารจัดการสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของรัฐบาลช่วงปี พ.ศ. 2563-2564 ในพื้นที่จังหวัดราชบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ โดยใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ได้จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และผู้ให้ข้อมูลสำคัญวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 32 คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจำแนกออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ด้วยวิธีอุปนัย การตรวจสอบข้อมูล การทำดัชนีข้อมูล การทำข้อสรุปชั่วคราวและกำจัดข้อมูล และการสร้างบทสรุปและพิสูจน์บทสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเสี่ยงในการบริหารงานในภาวะวิกฤตโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความเสี่ยงด้านสุขภาพ รองลงมาเป็นความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม และความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด และยังมองว่าการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิค-19 ยังไม่ครอบคลุมกับสภาพปัญหา นโยบาย กฎหมาย มาตรการหรือข้อบังคับต่าง ๆ ขาดการประเมินความเสี่ยง ประชาชนลดการพึ่งพารัฐบาลและหาแนวทางในการป้องกันตัวเองตามมาตรการทางสังคม และ 2) กรอบการบริหารความเสี่ยงในภาวะวิกฤตโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การประเมินความเสี่ยง รองลงมาเป็นการระบุความเสี่ยงหรือการบ่งชี้เหตุการณ์ และการสื่อสารและระบบสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด จากวิกฤตนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งที่เป็นโอกาสและความท้าทายในทุกระดับ ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรอาศัยสถานการณ์ติดตามและทบทวนความล้มเหลวในการบริหารงาน การแก้ปัญหา และทุกภาคส่วนทางสังคมควรบูรณาการความร่วมมือในการบริหารจัดการ ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
เกษม เจริญภู่ธรรม. (2549). การพัฒนาระบบบริหารความเสี่ยงด้านการเงินและพัสดุสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. นครสวรรค์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
คณะทำงานบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในกองทุนยุติธรรม. (2563). คู่มือบริหารความเสี่ยงกองทุนยุติธรรม (ฉบับปรับปรุงประจำปีบัญชี 2563). กรุงเทพฯ : คณะทำงานบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในกองทุนยุติธรรม.
จรรยรัศม์ อินนพคุณ. (2563). การจัดการความเสี่ยงในหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษาหน่วยงานราชการ อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(33), 91-104.
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. (2546, 9 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 120 ตอนที่ 100 ก. หน้า 1-16.
มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). การบริหารความเสี่ยง. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ. (2561). การจัดการความเสี่ยง. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ.
ยุทธ มะลิรส. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลคำพี้ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ยุทธจักร งามขจิต, ธนภูมิ ชาติดี, วัลภา รัศมีโชติ และวชิรวัชร งามละม่อม. (2564). โครงการการสำรวจการปรับตัวของชุมชนวิถีใหม่ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดราชบุรีโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. กรุงเทพฯ : สำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.).
ยุทธศาสตร์ชาติ พุทธศักราช 2561-2580. (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก. หน้า 1-61.
วิทยา อินทร์สอน. (2559). การบริหารความเสี่ยงในองค์กร. สุรินทร์ : วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์.
สกุล วันศรี. (2547). การบริหารความเสี่ยงต่อประสิทธิภาพการบริหารกลุ่มออมทรัพย์อย่างเป็นระบบในเขตเทศบาลอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. (ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาสังคม). คณะพัฒนาสังคม : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สงวน ช้างฉัตร. (2547). การบริหารความเสี่ยงโครงการ. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
สถาบันการบินพลเรือน. (2552). คู่มือการบริหารความเสี่ยงสถาบันการบินพลเรือน. กรุงเทพฯ : สถาบันการบินพลเรือน.
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2564). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (เดือนธันวาคม 2564). กรุงเทพฯ : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
อัจฉรียา อนันตพงศ์. (2550). การบริหารความเสี่ยงในการบริหารงานพัสดุของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (ภาคนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารจัดการสาธารณะสำหรับนักบริหาร). คณะรัฐศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Cronbach, L. J. (1977). Essentials of Psychological Test. New York : Harper Collins.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York : Wiley & Son.
Schwenger. B. (2018). Creating blended learning experiences requires more than digital skills. Retrieved from file:///C:/Users/SDU/Downloads/46SOTEL% 20 Symposium_%20Brief%20Presentation-266-1-10-20191218%20(1).pdf.
Westerman, G. (2006). IT risk Management: From IT necessity to strategic business value, center for information systems research, Sloan school of management. Dissertation Abstracts International, 1, 3703-3704-A.
World Economic Forum. (2020). Shaping the Future of the New Economy and Society. Retrieved from https://www.weforum.org/platforms/shaping-the-future-of-theneweconomy-and-society.
Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory Analysis. New York : Harper & Row.