ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1

Main Article Content

ศศิวิมล มาลาพงษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาจากการปฏิบัติงาน ตามความคิดเห็นครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษาจากการปฏิบัติงาน ตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร จำนวน 300 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 169 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จากตารางสำเร็จรูปของเครจซี่กับมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และค่าความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า 1) ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ภาวะผู้นำด้านคุณธรรมจริยธรรม ภาวะผู้นำด้านการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ภาวะผู้นำด้านการมีวิสัยทัศน์ ภาวะผู้นำด้านบุคลิกภาพ และภาวะผู้นำด้านความฉลาดทางอารมณ์ ตามลำดับ และ 2) ผลการเปรียบเทียบสถิติ f-test ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการปฏิบัติงานของครูเมื่อเปรียบเทียบตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนการเปรียบเทียบตามอายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
มาลาพงษ์ ศ. . (2024). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 . วารสารวิจยวิชาการ, 7(3), 75–86. https://doi.org/10.14456/jra.2024.61
บท
บทความวิจัย

References

กรองแก้ว อยู่สุข. (2561). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกวียนทอง ต้นเชื้อ. (2556). การพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน ในกลุ่มภาคะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ดรุณี เวียงชัย. (2561). ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการบริหารบุคคัลตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในสถานศึกษา. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ทองทิพภา วิริยะพันธ์. (2560). มนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย.

ทองใบ สุดชารี. (2551). การวิจัยธุรกิจ ปฏิบัติการวิจัยนอกตํารา. อุบลราชธานี : ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

พระครูประโชติ จันทวิมล. (2555). การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาบุญทัน อภิปุณโญ ไชยพัน. (256). การศึกษาคุณลักษณะด้านบุคลิกภาพของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามทัศนะของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

ลออ วิลัย. (2561). ภาวะผู้นําเหนือผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

ศิณาภรณ์ หู้เต็ม. (2558). พฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี วิทยาลัยราชพฤกษ์. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : วิทยาลัยราชพฤกษ์.

สำนักงานเขตพื้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. (2565). บุคลากรทางการศึกษา. เข้าได้ถึงจาก https://www.sesao1.go.th.

อัจฉรา โพธิ์อ้น. (2560). ภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.