องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

พรมา จันทรโคตร
วัลนิกา ฉลากบาง
วันเพ็ญ นันทะศรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัล ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวิธีดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับองค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัล ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัล 2) สัมภาษณ์องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ โดยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ขององค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกรอบที่ได้สังเคราะห์จากเอกสาร โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ในขั้นตอนการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และขั้นตอนการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล 2) ด้านความรู้ดิจิทัล 3) ด้านความเป็นมืออาชีพดิจิทัล 4) ด้านทักษะเทคโนโลยีและการสื่อสารดิจิทัล และ 5) ด้านการบริหารจัดการดิจิทัล

Article Details

How to Cite
จันทรโคตร พ. ., ฉลากบาง ว. ., & นันทะศรี ว. . (2024). องค์ประกอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจยวิชาการ, 7(2), 163–180. https://doi.org/10.14456/jra.2024.41
บท
บทความวิจัย

References

กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำ: แนวคิด ทฤษฎีและการพัฒนา. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561-2580). เข้าถึงได้จาก https://ict.moph. go.th/th/extension/718

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563-2565. เข้าถึงได้จาก https://bict.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/03/digital-63-65.pdf

จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นํา Leadership. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : บริษัททริปเพิล กรุ๊ป จํากัด.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

จิรพล สังข์โพธิ์, สุวรรณ จันทิวาสารกิจ และเสาวนีย์ อยู่ดีรัมย์. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารยุคดิจิทัล: องค์การไอทีและองค์การที่เกี่ยวข้องกับไอทีในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีระ รุญเจริญ. (2557). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.

ประภาส วรรณทอง. (2559). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาล ตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธ. วารสารการเมืองการปกครอง วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 6(2), 112-126.

มลิวัลย์ ธรรมแสง. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาเฉพาะความพิการ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 11(2), 10-11.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : ทิพยวิสุทธิ์.

ศิริรัตน์ ทองมีศรี. (2556). ปัจจัยด้านคุณลักษณะผู้บริหาร ลักษณะงานของครู และแรงจูงใจในการทำงานของครูที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนเอกชน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(1), 41-53.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : 21 เซนจูรี่.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุชญา โกมลวานิช และคณะ. (2563). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21 (น.700-708). ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุภวัช เชาวน์เกษม และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผล โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารกระบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 3(3), 85-99.

อุศมาน หลีสันมะหมัด. (2560. สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Contributor. (2017). Skill in digital leadership. Retrieved form https://digitalmarketing institute.com/blog/03-04-18-the-most-indemand-skills-in-digital-leadership

Curious, C. (2013). Digital Leadership or just leadership?. Retrieved from http://www. curiouscatherine.info/2013/06/02/digital-leadership-or-just-leadership.

Hood, D. (2017). 10 skills for digital leadership at accounting firms. Retrieved from https://www.accountingtoday.com/opinion/10-skills-fordigital-leadership-at-accounting-firms

Plomion, B. (2011). Digital leader. Retrieved from https://www.adweek.com/contri butor/ben-plomion/digital-leadership.

Sheninger, E.C. (2014). Digital Leadership: Changing Paradigms for Changing Times. United States of America : Corwin.

Zhu, P. (2014). Five Key Elements in Digital Leadership. Retrieved from http:// futureofcio.blogspot.com/2014/10/digital-leadership- effectiveness.html