ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรม กรณีศึกษา : เหตุกราดยิงในศูนย์การค้าเทอมินอล 21 โคราช จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรม และ 2) นำเสนอระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมจากเหตุกราดยิง ในศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 โคราช จังหวัดนครราชสีมา เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็นตัวแทนของหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในพื้นที่และมีหน้าที่ในการดูแลและจัดการด้านความปลอดภัย รวมทั้งสิ้น 19 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการจัดการความปลอกภัยที่เกิดขึ้น คือ หน่วยงานความมั่นคง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีแผนการ กระบวนการขั้นตอนที่ชัดเจนในการระงับและจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมจากการกราดยิงในพื้นที่สาธารณะที่มีประชาชนจำนวนมาก รวมถึงเจ้าหน้าที่ไม่ทราบบทบาทในการดำเนินการของตนเอง ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าระงับเหตุได้อย่างถูกต้อง และ 2) ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาชญากรรมจากเหตุกราดยิง ในศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 ประกอบด้วย 2.1) ปัจจัยนำเข้า เป็นการจัดทำแผนเผชิญเหตุ โดยการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ บทบาทของแต่ละภาคส่วน รวมถึงการซักซ้อมแผน 2.2) กระบวนการ คือ การดำเนินงานการเผชิญเหตุ ต้องมีการประเมินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พิจารณาสภาพแวดล้อม วิเคราะห์บริบทต่าง ๆ เพื่อวางแผนเข้าช่วยเหลือประชาชน และการจัดการกับผู้กระทำความผิดตามความเหมาะสม 2.3) ปัจจัยส่งออก เป็นการดำเนินงานหลังเกิดเหตุ จำเป็นที่จะต้องมีการประเมินความเสียหายและเยียวยาผู้เสียหาย รวมถึงการดำเนินการด้านกฎหมายกับผู้กระทำความผิด (กรณีที่ไม่ถูกวิสามัญ) ทั้งนี้เหตุที่เกิดขึ้นจำเป็นที่จะต้องถอดบทเรียนจากการจัดการด้านความปลอดภัย เพื่อระบุปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานอันเป็นข้อมูลป้อนกลับที่จะนำไปสู่การปรับปรุงแผนเผชิญเหตุ เพื่อยกระดับมาตรการการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ และทำให้ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยของอาชญากรรมจากเหตุกราดยิงสามารถดำเนินการจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กฤษณพงค์ พูตระกูล. (2563). ทฤษฎีหน้าต่างแตก ถอดรหัส 5 ต้นตอกราดยิง สังคมไทยตีโจทย์ไม่แตก. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th /news/1775100.
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2563). สรุปสาระสำคัญจากสัมมนาวิชาการ เรื่อง “มาตรการรับมือ Active Shooter กับความปลอดภัยของสังคมไทย”. เข้าถึงได้จาก https://www.law.tu.ac.th/summary-seminar-active-shooter/
เคียงฤทัย โคตรรุฉิน. (2562). แนวทางการป้องกันปัญหาอาชญากรรมและสร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. เข้าถึงได้จาก http://www. mpm.ru.ac.th/Documents/Article_MPM18/45.pdf
จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
ชรินทร์ โกพัฒน์ตา. (2557). คู่มือบริหารการป้องกันและควบคุมอาชญากรรมคดีประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์ ธนาคาร ร้านทอง. เข้าถึงได้จาก http://pc.edupol.org/ download /article/seniorcommand38/3806.pdf.
นิง คั้น ยุย. (2561). แนวทางการจัดการความปลอดภัย ด้านอาชญากรรมให้แก่นักท่องเที่ยว: กรณีศึกษา กองบัญชาการตำรวจนครบาลฮานอย ประเทศเวียดนาม. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(2), 25-34
พนมศักดิ์ วิลัยเลิศ. (2553). การจัดการความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของชุมชนในเขตบริหารส่วนตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักข่าว The Standard. (2563). ลำดับเหตุการณ์ “17 ชั่วโมงกราดยิงโคราช” ก่อนวิสามัญคนร้าย. เข้าถึงได้จากhttps://thestandard.co/17-hours-shooting-at-korat/.
Joshua, C. H. & Weisburd, D. (2008). The irony of broken windows policing: A micro-place study of the relationship between disorder, focused police crackdowns and fear of crime. Journal of Criminal Justice, 36(6), 503–512.
Phuchana. (2015). ทฤษฎีการป้องกันอาชญากรรม. เข้าถึงได้จาก http://safetytips-th.blogspot. com/2015/12/blog-post_27.html.
Rocque, M. & Duwe, G. (2017). Rampage Shootings: An Historical, Empirical, and Theoretical Overview, Current Opinion in Psychology, 19, 28-33.