กลยุทธ์ในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7

Main Article Content

วรวุธ จิตมหาวงศ์
พระครูนิวิฐศีลขันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 และ 3) นำเสนอกลยุทธ์ในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 377 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 รูป/คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ อยู่ในระดับมาก การจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ตามหลัก 5AS โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) หลักสัปปุริสธรรม 7 มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ตามหลัก 5AS ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) กลยุทธ์ในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ได้แก่ กลยุทธ์ที่ 1 กลยุทธ์เชิงรุก 1.1 ส่งเสริมการลงทุนให้กับผู้ประกอบการในชุมชน 1.2 ส่งเสริมการตั้งกลุ่มโฮมสเตย์ภายในชุมชน 1.3 ส่งเสริมการลงทุนท่องเที่ยวด้านสุขภาพ 1.4 ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรในชุมชน กลยุทธ์ที่ 2 กลยุทธ์เชิงรับ 2.1 จัดทำปฏิทินการท่องเที่ยว 2.2 จัดอบรมมัคคุเทศก์ในชุมชน 2.3 จัดกิจกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว 2.4 จัดกิจกรรมย้อนรอยละครกงกรรม กลยุทธ์ที่ 3 กลยุทธ์เชิงป้องกัน 3.1 สนับสนุนการจัดทำปฏิทินการท่องเที่ยว 3.2 สนับสนุนการจัดอบรมมัคคุเทศก์ในชุมชน 3.3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมเชื่อมโยงการท่องเที่ยว 3.4 สนับสนุนการจัดกิจกรรมย้อนรอยละครกงกรรม และกลยุทธ์ที่ 4 กลยุทธ์เชิงทบทวน 4.1 พัฒนารูปแบบการจัดทำเอกสารเส้นทางท่องเที่ยว 4.2 ปรับปรุงการจัดทำแพ็กเก็จการท่องเที่ยว 4.3 ปรับปรุงการจัดกิจกรรมดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน 4.4 แก้ไขการจัดกิจกรรมดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว

Article Details

How to Cite
จิตมหาวงศ์ ว. ., & พระครูนิวิฐศีลขันธ์. (2024). กลยุทธ์ในการจัดการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ในเขตเทศบาลเมืองชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสัปปุริสธรรม 7. วารสารวิจยวิชาการ, 7(3), 59–74. https://doi.org/10.14456/jra.2024.60
บท
บทความวิจัย

References

เตือนใจ จันทร์หมื่น. (2562). การศึกษาองค์ประกอบการท่องเที่ยว 5AS ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เทศบาลเมืองชุมแสง. (2565). รายงานประจำปี 2565. (อัดสำเนา)

พระครูสุนทรสีลสัมบัน (คำรณ ล้ำเลิศ). (2564). การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ภัทร์อาภรณ์ เอี่ยมวิริยาวัฒน์. (2561). การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อยกระดับชุมชนสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนบ้านพุน้ำร้อน อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิสิษฐ์ สมบูรณ์. (2565). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(2), 97-112.

แสงรวี เกตุสุวรรณ. (2563). องค์ประกอบของแหล่งท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.