การประเมินผลการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

นุกูล ไกรกาศ
พระครูนิวิฐศีลขันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินผลการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของหลักอิทธิบาทธรรมกับการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และ 3) เสนอแนวทางในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอิทธิบาทธรรม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการแจกแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0. 966 กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 395 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูป/คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินผลการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) หลักอิทธิบาทธรรมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) แนวทางในการควบคุม ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้แก่ 3.1) ควรเตือนให้ประชาชนพอใจการหลีกเลี่ยงไปในพื้นที่เสี่ยง ควรกระตุ้นให้ประชาชนตั้งใจสวมหน้ากากผ้าป้องกัน 3.2) ควรแจ้งให้ประชาชนตั้งใจที่จะไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ควรกระตุ้นให้ประชาชนหมั่นประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อ 3.3) ควรกำหนดให้หน่วยงานในพื้นที่ตั้งใจกำหนดเส้นทางเข้าออกพื้นที่ ควรแจ้งให้หน่วยงานในพื้นที่หมั่นจัดให้มีระยะห่างระหว่างบุคคล และ 3.4) ควรหมั่นกำชับให้มีมาตรการติดตามข้อมูลของสถานที่ที่มีประชาชนรวมตัวกัน ควรหมั่นส่งเสริมให้สถานที่ที่มีประชาชนรวมตัวกันจัดให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม

Article Details

How to Cite
ไกรกาศ น. ., & พระครูนิวิฐศีลขันธ์. (2024). การประเมินผลการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (โควิด-19) ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจยวิชาการ, 7(2), 337–354. https://doi.org/10.14456/jra.2024.51
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563). คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณี การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : กรมควบคุมโรค.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข). บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันพระบรมราชชนก.

ดิเรก ขำแป้น และคณะ. (2564). การประเมินประสิทธิผลมาตรการป้องกัน COVID-19 ในเขตสุขภาพที่ 3. วารสารควบคุมโรค, 47(4), 893-903.

พงศ์ศักดิ์ จันทร์ทอง. (2564). การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาในชุมชนบ้านบางมวง ตาบลฝาละมี อาเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข). บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันพระบรมราชชนก.

พระครูสมุห์จิรชาติ พุทธรักขิโต. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลป้องกันโรคโควิด 19 โดยใช้หลักอิทธิบาท 4. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 7(3), 168-178.

พัฒน์พรชัย เมฆวิลัย. (2565). การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในวิกฤติการณ์โควิด 19. วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 3(1), 41-49.

ระนอง เกตุดาว. (2564). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี - Udon Model COVID-19. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข). บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.). (2566). สรุปรายงานเกี่ยวกับไวรัสโคโรนา (COVID-19) ประจำวันที่ 1 ตุลาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https://covid19.nrct.go.th/wp-content/uploads/2022/10/covid19-report-651001-1.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์. (2563). สรุปผลการดำเนินงานป้องกันการระบาด COVID-19. นครสวรรค์ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครสวรรค์.

สีตีปาตีฮะร์ อีลา. (2564). การแก้ปัญหาการรับมือและการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงเตี้ย อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.