การประเมินผลผลิตและผลลัพธ์เชิงวิชาการจากงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลลัพธ์เชิงวิชาการจากงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ข้อมูลรวบรวมจากแผนงานวิจัยแนวหน้าด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนายา ปีงบประมาณ 2563 ซึ่งเป็นแผนงานวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่ จำนวน 39 โครงการ ได้รับเงินสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) การวิเคราะห์อาศัยสถิติเชิงพรรณนาและวิธีการวิเคราะห์บรรณมิติ เป็นเครื่องมือในการประเมินผลลัพธ์เชิงวิชาการที่ครอบคลุมทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ผลการวิจัย พบว่า งานวิจัยสร้างผลประโยชน์ด้านผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติมากที่สุด จำนวน 93 บทความ รองลงมา เป็นการนำเสนอผลงานในที่ประชุมระดับชาติและนานาชาติ 75 บทความ และมีการเสริมสร้างและพัฒนาบุคคลากรการวิจัย 78 คน และการจดสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญา 11 ผลงาน โดยเมื่อพิจารณาการอ้างอิงบทความ มีการอ้างอิงบทความโดยเฉลี่ย 6.86 ครั้งต่อบทความ ชี้ให้เห็นว่า การลงทุนงานวิจัยได้สร้างผลลัพธ์เชิงวิชาการจากงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์สูงยิ่ง เมื่อเทียบเกณฑ์ของหน่วยงานให้ทุนวิจัย (ผลงานวิจัยอย่างน้อย 1 ผลงานต่อโครงการ) ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานวิจัยควรสนับสนุนการสร้างผลลัพธ์และผลกระทบจากงานวิจัยสู่ชุมชน สังคม และประเทศชาติเพิ่มเติมจากผลงานเชิงวิชาการ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). รายงานผลสัมฤทธิ์สำหรับโครงการปกติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. (อัดสำเนา)
จีรวรรณ ทองสกล. (2562). การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบงานวิจัย สำหรับวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสหศาสตร์, 19(2), 17-28.
ธีรพงษ์ กระแจะจันทร์. (2554). An Igm Antibody capture-lattex adsorption test for detection of Igm antibody to rubella virus. รามาธิบดีวารสาร, 34(3), 133-134.
ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย. (2565). สาขาวิชาที่มีให้เลือกทั้งหมด. เข้าถึงได้จาก https://tci-thailand.org/p/6759/
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์. (2563). รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ไตรมาส 1-3 ปีงบ ประมาณ 2563. (อัดสำเนา)
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์. (2563). รายงานผลสัมฤทธิ์สำหรับโครงการปกติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. (อัดสำเนา)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.). (2564). จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ หนุนแวดวงวิจัย ประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมของผลงานวิจัยโดยใช้เทคนิค SROI. เข้าถึงได้จาก https://www.tsri.or.th/news/640/ Financial-Proxy-and-Best-Practice-of-SROI/
สุวรรณา ประณีตวตกุล และกัมปนาท วิจิตรศรีกมล. (2563). ผลลัพธ์และผลกระทบของงานวิจัยด้านปาล์มน้ำมันในประเทศไทย และกรณีศึกษา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1), 385-401.
สุวรรณา ประณีตวตกุล และคณะ. (2565). การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของแผนงานวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่ สกสว. : แผนงานวิจัยแนวหน้าด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนายา. (รายงานการวิจัย). สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวรรณา ประณีตวตกุล, กัมปนาท วิจิตรศรีกมล, จุฑามาศ เลิศอยู่สุข และบุษกร ก้อนทอง. (2561) เส้นทางสู่ผลกระทบจากงานวิจัยอ้อยและน้ำตาลในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2), 45-58.
สุวรรณา ประณีตวตกุล. (2552). การประเมินผลกระทบทางเศรษฐศาสตร์ของงานวิจัยควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 16(2), 48-64.
Alston, J.M., Norton, G.W. & Pardy, P.G. (1998). Science under scarcity principle and practice for agricultural research evaluation and priority setting. UK : CAB International Publishing.
CGIAR. (2008). Strategic guidance for ex post impact assessment of agricultural research. Consultative Group on International Agricultural Research. UK : Green Link Publishing.
Gann, L. (2023). What is an h-index? How do I find the h-index for a particular author? Retrieved from https://mdanderson.libanswers.com/faq/26221#:~: text =T he%20h%2Dindex%20is%20calculated,cited%20at%20least%2017%20times.
Tetzner, R. (2021). What is a good h-index required for an academic position? Retrieved from https://www.journal-publishing.com/blog/good-h-index-re quired-academic-position/#:~:text=H%2Dindex%20scores%20between%2 03,for%20becoming%20a%20full%20professor.