รูปแบบการจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพนักศึกษาอาชีวศึกษา ในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของจังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักอปริหานิยธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 2) สร้างรูปแบบการจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และ 3) ประเมินรูปแบบการจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาอาชีวศึกษาในสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมของจังหวัดนครสวรรค์ตามหลักอปริหานิยธรรม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกที่คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 15 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่มเฉพาะที่คัดเลือกแบบฉพาะเจาะจง รวม 12 รูป/คน และการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อประเมินรูปแบบฯ ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง โดยผู้เชี่ยวชาญที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจงและให้ความร่วมมือการในการวิจัย รวม 17 รูป/คน ผลการวิจัย พบว่า 1) การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดฝึก ด้านการจัดทำแผนการฝึก ด้านการเตรียมการก่อนการจัดฝึก และการดำเนินการจัดการฝึก การนิเทศ ติดตาม กำกับดูแลการฝึก โดยสรุปจะดำเนินการร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย คือ สถานศึกษา นักศึกษา และ และสถานประกอบการ 2) การพัฒนารูปแบบการจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพฯ พบว่า เป็นรูปแบบการจัดการการฝึกฯ ใน 4 ด้าน และ 7 หลัก ตามอปริหานิยธรรม ซึ่งจะต้องดำเนินการ ดังนี้ 1) จัดประชุมพบปะหารือร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย อย่างต่อเนื่องและบ่อยครั้ง 2) มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วม 3) ไม่ลุอำนาจในการจัดการปรับแก้เองแต่เพียงฝ่ายเดียว 4) อยู่บนฐานของกฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงาน 5) มีการเคารพให้เกียรติกัน 6) มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กร และ 7) มีกิจกรรมการยกย่องให้รางวัลแก่ผู้เข้าร่วมการจัดการฝึก และ 3) ผลการประเมินรูปแบบการจัดการการฝึกประสบการณ์ฯ พบว่ารูปแบบมีมาตราฐานในความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง ซึ่งผลของการประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
พระมหาธรรมกรณ์ ปญญาสิริ (นวนสว่าง). (2556). ศึกษาวิเคราะห์รัฐศาสตร์ตามหลักอปริหานิยธรรม 7. (วิทยานิพนธ์ศาสนศาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
วิทยาลัยอาชีพวศึกษาดรุณาราชบุรี. (2564). รายวิชาฝึกงาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. เข้าถึงได้จาก daruna.ac.th/PDFFiles/apt๐1-4.pdf
สมบัติ เจนสระคู และคณะ. (2561). การบริหารโรงเรียนของผู้บริหารตามหลักอปริหานิยธรรม 7 โรงเรียนการกุศลของวัด ทางพระพุทธศาสนา ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 1(2),15-27.
สรายุทธ อุดม และคณะ. (2560). การวิเคราะห์วิธีการบริหารทางพุทธศาสนาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก. วารสารธาตุพนมปริทรรศน์, 1(1), 1-14.
สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. (2551). แนวปฏิบัติการดำเนินการฝึกงาน. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
อรัญชณา หนูชูสุข และรพีพรรณ สุวรรณณัฐโชติ. (2563). การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอเบตง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติครั้งที่ 11 (น.1253-1264). สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Abeydeera, S. R. (2016). Buddhism and Sustainability-Related Organizational Practices: A Sri Lankan Focus. (Doctor of Philosophy). New Zealand : Auckland University of Technology.