การพัฒนาระบบการออมชุมชนวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล

Main Article Content

จรูญศักดิ์ สุนทรเดชา
พระครูนิวิฐศีลขันธ์
ณวพงศ์ธร นิติภูวนนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนทัศน์และการรับรู้ของประชาชน 2) พัฒนาระบบการออมชุมชนวิถีพุทธ และ 3) ถอดบทเรียนการพัฒนาระบบการออมชุมชนวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต ติดตาม ประเมินผล และการสะท้อนผลการขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ผ่านเทคนิคการทบทวนหลังการขับเคลื่อนกิจกรรมเสร็จสิ้น กำหนดพื้นที่เป้าหมายในลักษณะภาคีเครือข่าย (บวร) คือ ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนากระบวนทัศน์และการรับรู้ของประชาชน พบว่า 1.1) การรู้ทุกข์ พบว่า ปัญหาในเชิงพื้นที่ที่ส่งผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ด้านสินค้า ด้านหนี้สิน ด้านอาชีพ และด้านการตลาด 1.2) การรู้ทุน มีการคัดเลือกตัวแทนนักจัดการชุมชนด้านการออม จำนวน 21 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องที่ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และ 1.3) การรู้เท่าทัน มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาใน 4 ประเด็น คือ ขยันหา รักษาไว้ มีใจต่อกัลยาณมิตร และใช้ชีวิตแบบพอเพียง 2) การพัฒนาระบบการออมชุมชนวิถีพุทธ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนมีมติเห็นร่วมกันใน 5 ชุดกิจกรรม ประกอบด้วย (1) การตลาดออนไลน์ เทคนิคถ่ายภาพด้วยมือถือ (2) การวิเคราะห์และออกแบบธุรกิจด้วย Business Model Canvas (3) การทำพวงมาลัยจากผ้าขาวม้า (4) งานดอกไม้ และ (5) การขยายผลตู้เย็นข้างบ้าน ตู้ยาข้างครัว และ 3) ผลการถอดบทเรียน พบว่า 3.1) การประเมินกระบวนการชุมชนด้วยตนเอง 9 มิติ พบว่า ร้อยละ 100 ประเมินให้ผ่านในค่าเฉลี่ยมากกว่า 4.50 และการประเมินผลจากการสังเกตการณ์ของนักวิจัย และผู้ร่วมวิจัยท้องถิ่น และ 3.2) การถอดบทเรียนการทำงาน พบว่า ปัญหาและข้อจำกัด คือ (1) ปัญหาสาธารณภัยในพื้นที่ และ (2) การจัดการเวลาไม่ตรงกัน ส่วนปัจจัยความสำเร็จ ประกอบด้วย (1) การบริหารจัดการ (2) ภาคีเครือข่าย (3) การรับฟัง ทบทวนเพื่อแก้ปัญหา และ (4) ผู้นำ/นักจัดการชุมชน/พี่เลี้ยง

Article Details

How to Cite
สุนทรเดชา จ. ., พระครูนิวิฐศีลขันธ์, & นิติภูวนนท์ ณ. . (2023). การพัฒนาระบบการออมชุมชนวิถีพุทธเพื่อรองรับสังคมสูงวัยระดับตำบล . วารสารวิจยวิชาการ, 6(6), 267–282. https://doi.org/10.14456/jra.2023.143
บท
บทความวิจัย

References

ข่าวหน้าใน. (2564). คนไทยออมเงินน้อยลงทุบสถิติ. Khaosod Online. เข้าถึงได้จาก https: //www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_ 562393

ธงชัย สิงอุดม และคณะ. (2560). เศรษฐศาสตร์เชิงพุทธกับการสร้างเสริมความมั่นคงของครอบครัวพ่อ-แม่มือใหม่. (รายงานการวิจัย). สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประธาน จิวจินดา. (2564). การออมภาคครัวเรือนของไทย แนวโน้มและข้อจำกัด. กรุงเทพธุรกิจ เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/855981

พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร. (2563). รูปแบบการประยุกต์ใช้พุทธเศรษฐศาสตร์ในชุมชนต้นแบบในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 5(2), 277-293.

วิทยา จันทร์แดง และจำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนเข้มแข็งตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน. (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สถาบันวิทยาการตลาด. (2564). การออมสำหรับประชาชนวัยเริ่มทำงาน. เข้าถึงได้จาก https://www. cma.in.th/cma/academicPaper/download/2

สรัญญา แสงอัมพร. (2561). การใช้หลักทิฏฐธัมมิกัตถะเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนมะม่วงปลายแขน ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 411-429.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การออมของครัวเรือนไทย ไตรมาสที่ 4 ป 2563. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. (3rd ed.). Victoria : Deakin University.