การพัฒนาชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่องการสร้างคำในภาษาไทยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร

Main Article Content

ณิตาวรรณ โพธิ์ไหม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน เรื่องการสร้างคำในภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน 3) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการวิจัยนี้เป็นเป็นการวิจัยและพัฒนา มุ่งศึกษาค้นคว้าคิดค้นอย่างเป็นระบบ มีเป้าหมายในการพัฒนา นวัตกรรม จากนั้นนำไปทดลองใช้จนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ แล้วจึงนำไปเผยแพร่เพื่อพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนกุสุมาลย์วิทยาคม อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร จำนวน 90 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ 1) ชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนเรื่องการสร้างคำในภาษาไทย จำนวน 5 ชุด 2) แบบทดสอบผลวัดสัมฤทธิ์แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ พบค่าความยาก (p) ระหว่าง .43 - .70 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ .20 - .80 มีค่าความเชื่อมั่น .81 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน เป็นแบบ Rating Scale 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ และ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียน โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าประสิทธิภาพ 85.07/84.89 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 2) คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.6194 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 62.94 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่ยอมรับได้ คือ .50 ขึ้นไป และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยชุดการเรียนรู้แบบศูนย์การเรียนเรื่องการสร้างคำในภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระแกนกลางกลุ่มสาระเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

สุกัญญา จันทร์แดง. (2556). ผลการจัดการเรียนด้วยชุดการสอนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำงานร่วมกันวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Veridian E-Joumal, 6(2), 567-581.

สุรางค์ ทุ่นศิริ. (2554). ผลการสอนซ่อมเสริมโดยใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียว. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อิศรา รุ่งอภิญญา. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องชนิดของประโยค ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึก. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Slavin, R. E. (1990). A Cooperative Learning : Theory Research and Practice. Massachusetts : A Simon and Schuster.