การออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกด้านการทำงานเป็นทีมรายวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี

Main Article Content

พระครูอุทิตปริยัติสุนทร
ประคอง มาโต
พระครูอุทัยสุตกิจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกด้านการทำงานเป็นทีมรายวิชาพระพุทธศาสนา 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) ประเมินผลการออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกด้านการทำงานเป็นทีมรายวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ เป็นงานวิจัยในการออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนลานสักวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยในการเลือก ผลการวิจัย พบว่า 1) การออกแบบการเรียนรู้เชิงรุกด้านการทำงานเป็นทีมรายวิชาพระพุทธศาสนา ผู้วิจัยนำผลทั้ง 3 ขั้น คือ ขั้นวางแผน ขั้นสัมภาษณ์ และขั้นออกแบบ มาวิเคราะห์ข้อมูลออกแบบเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ PSLDC 5 ขั้น สู่ความสำเร็จคือ P วางแผน S โครงสร้าง L เชื่อมโยง D ออกแบบ C สรุปผล 3.5 สื่อและแหล่งเรียนรู้ 3.6 การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ ค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ผ่านเกณฑ์ที่ 0.67–1.00 ทั้ง 4 ฉบับ สามารถนำไปใช้ได้ 2) การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สูตรวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพ ใช้เกณฑ์ที่ 80/80 พบว่ามีค่าเท่ากับ 82.50/84.90 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และ 3) การประเมินผลการออกแบบการเรียนรู้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ 0.05 จากการทดสอบค่าที คือ 9.22 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ และค่าความพึงพอใจมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} =4.63, S.D.=0.52)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ที่เน้นสมรรถนะโดยน้อมนำปรัชญาของในหลวง รัชกาลที่ 9 ตามอัตลักษณ์ท้องถิ่นมาเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาครู. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(6), 2554-2569.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บังอร เสรีรัตน์. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฐานสมรรถนะแบบผสานรายวิชาสำหรับนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารครุศาสตร์สาร, 15(2), 143-158.

ศิริญญา เซ็นกลาง. (2564). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวทางในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ เรื่อง ระบบประสาทและอวัยวะรับสัมผัสเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. เข้าถึงได้จาก http://www.mpk.ac.th/sarinya1.pdf

สุคนธ์ สินธพานนท์ (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้ สู่การศึกษา 4.0. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.