การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เรื่อง พุทธประวัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาล วัดหนองขุนชาติ (อุทิศพิทยาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2

Main Article Content

พระสุรินทร์ สุรินฺโท
ศรีมงคล เทพเรณู
ดิเรก ด้วงลอย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เรื่อง พุทธประวัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลวัดหนองขุนชาติ (อุทิศพิทยาคาร) และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง พุทธประวัติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลวัดหนองขุนชาติ (อุทิศพิทยาคาร) เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลวัดหนองขุนชาติ (อุทิศพิทยาคาร) จำนวน 40 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เรื่อง พุทธประวัติ จำนวน 2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พุทธประวัติ ตอน การบำเพ็ญเพียร การผจญมาร การตรัสรู้ ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ เรื่อง พุทธประวัติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลวัดหนองขุนชาติ (อุทิศพิทยาคาร) ผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 67.26 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คือหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
พระสุรินทร์ สุรินฺโท, เทพเรณู ศ. ., & ด้วงลอย ด. . (2024). การจัดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เรื่อง พุทธประวัติ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาล วัดหนองขุนชาติ (อุทิศพิทยาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 2 . วารสารวิจยวิชาการ, 7(3), 35–44. https://doi.org/10.14456/jra.2024.58
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมตามหลักสูตรแกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ตรัยรักษ์ วรัทย์หินเกิด. (2551). การพัฒนาวินัยในตนเองของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษาวิทยาเขตชัยภูมิ ตามแนวทางไตรสิกขา. (รายงานการวิจัย). ชัยภูมิ : สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชัยภูมิ.

พระธนู ธนวฑฺฒโน (เนียมวงศ์) และคณะ. (2561). การพัฒนาชุดการเรียนรู้วิชาพุทธชินราชศึกษา โรงเรียนสาธิตวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระนัชพล ฐิตปญฺโญ (คงพันธ์) และคณะ. (2562). การศึกษาพฤติกรรมในการดำเนินชีวิตของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักเบญจศีล เบญจธรรม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(2), 85-96.

พระวชิรญาณ์ เต็งวราภรภัทร และคณะ. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พุทธประวัติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ชุดสื่อประสม. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(3), 133-149.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลออ การุณยวณิช. (2549). จริยศึกษาและการพัฒนาประเทศ. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร.

อุมาพร บัวศรี. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านคิดวิเคราะห์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ด้วยเทคนิคจิกซอว์ 2 ร่วมกับบทอ่านจากสื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.