ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนภาษาจีนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของแรงจูงใจในการเรียนภาษาจีน และ 2) ปัจจัยด้านแรงจูงใจภายในและภายนอกที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนภาษาจีนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1-3 ที่เรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษเอกภาษาจีน จำนวน 120 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่เกี่ยวกับแรงจูงใจภายในและภายนอกของการเรียนภาษาจีน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าถดถอยเชิงพหุคูณ ผลของการวิจัย พบว่า 1) แรงจูงใจในการเรียนภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) ปัจจัยด้านแรงจูงใจภายในมีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนภาษจีนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1-3 ที่เรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษเอกภาษาจีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือด้านความต้องการ ด้านเจตคติต่อการเรียนภาษาจีน และด้านความสนใจพิเศษ ตามลำดับ มีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 87.00 (R2 = 0.870) และ ปัจจัยด้านแรงจูงใจภายนอกมีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนภาษาจีนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1-3 ที่เรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษเอกภาษาจีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านผู้อื่นนอกเหนือจากผู้เรียน ด้านความก้าวหน้าที่จะได้รับจากการเรียน ด้านบุคลิกภาพ และด้านเครื่องล่อใจอื่น ๆ ตามลำดับ โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 91.90 (R2 = 0.919)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงการต่างประเทศ. (2565). ถ้อยแถลงร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วย การดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย-จีน เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น. เข้าถึงได้จาก http s://www.mfa.go.th/th/content/thchnjointstatement19112565? Cate =5d5bcb4e15e39c306000683b
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ห้องเรียนภาษาจีน. เข้าถึงได้จาก ttps://www.moe.go.th/ห้องเรียนภาษาจีน-3/
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). มติ ครม. เห็นชอบกรอบความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีน. เข้าถึงได้จาก https://www.moe.go.th/มติ-ครม-เห็นชอบสอนภาษาจีน/
จิรนันท์ สิริจำลองวงศ์. (2562). ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ที่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนและไทยด้านเศรษฐกิจ. (สารนิพนธ์อักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียศึกษา). คณะอักษรศาสตร์ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เฉิน ซงหลิง และเพ็ญพิสุทธิ์ สีกาแก้ว. (2565). ยุทธศาสตร์ BRI กับนโยบายการพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทยในประเทศจีน. เข้าถึงได้จาก https://www.dpu.ac.th/ dpurdi/analysis/32
ชวิศา พิศาลวัชรินทร์ และกษมา สุวรรณรักษ์. (2561). การศึกษาแรงจูงใจของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในการเรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียนกวดวิชา. วารสารสุทธิปริทัศน์, 34(110), 90-102.
ชุลีวรรณ ปราณีธรรม. (2563). แรงจูงใจในการเรียนภาษาเยอรมันของนักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว. (รายงานการวิจัย). สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
เตือนใจ เขียนชานาจ และอุราชนก คงกลํ่า. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 8. Mahamakut Graduate School Journal, 17(1), 223-235.
บัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2565). มติ ครม.เห็นชอบกรอบความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีน. เข้าถึงได้จาก https://moe360.blog/2022/04/12/cabinet-resolution-chinese-lang/
แพรวา รัตนทยา. (2564). แรงจูงใจและกลวิธีการเรียนภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น, 1(1), 1-9.
มิชิมะ คุมิโกะ และมาซากิ โคจิ. (2565). การศึกษาแรงจูงใจและความวิตกกังวลที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ด้านภาษาของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น : กรณีศึกษานักศึกษาหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นและการสื่อสารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(3), 296-311.
โรงเรียนพนัสพิทยาคาร. (2563). ประกาศโรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี เรื่อง การรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ประเภทห้องเรียนพิเศษของโรงเรียนพนัสพิทยาคาร ปีการศึกษา 2563. เข้าถึงได้จาก https://drive.google.com/file/d/1AUHdgKq4kv3 geyu6GEIrSeLtGd/view
ศิริมา ปุรินทราภิบาล. (2560). แรงจูงใจในการเรียนภาษาฝรั่งเศสของนักเรียน แผนการเรียนภาษาฝรั่งเศสในโรงเรียนมัธยมศึกษาใน 14 จังหวัดภาคใต้. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(48), 214-226.
สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล. (2019). “สถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล” จัดอบรม “ภาษาจีน+เทคนิค” ป้อนบุคลากรให้ไทยต่อเนื่อง. เข้าถึงได้จาก https: //thai.cri.cn/20190703/ 28d9fd07-b0f0-71d0-9a6c-19f4c9c69754.html
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2561). ความริเริ่ม แถบเศรษฐกิจและเส้นทางสายไหมยุคใหม่ : สู่การพัฒนาร่วมกัน. กรุงเทพฯ : ศูนย์ประชุมบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์.
สุกัลยา แฉล้ม และอัญชลี โตพึ่งพงศ์. (2562). แรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เรียนภาษาเยอรมัน. วารสารภาษาศาสนาและวัฒนธรรม, 8(1), 80-92.
เสาวลักษณ์ สุขสังข์ และคณิศร ธะวิทย์. (2563). ภาษาจีนกับการรองรับฐานการผลิตจากบริษัทนักลงทุนของจีนภายใต้นโยบาย“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง”. เข้าถึงได้จาก http://www.thai-explore.net/search_detail/result/10419
แอนนี คำสร้อย. (2565). การ “ก้าวออกไป” ของอาชีวศึกษาจีนกับรูปแบบความร่วมมือในการ พัฒนากำลังคนในต่างประเทศ กรณีศึกษาศูนย์ปฏิบัติการเทคโนโลยี และนวัตกรรมลูปัน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 18(2), 9-26.
Addisu, S. G. (2020). Factors affecting the attitudes of students towards learning English as a foreign language. Cogent Education, 7(1), 1-37.
Best, J. W. (1986). Research in Education. (5th ed.). New Jersey : Prentice Hall, Inc.
Imsa-ard, P. (2020). Motivation and attitudes towards English language learning in Thailand: a large-scale survey of secondary school students. Reflections, 27(2), 140-158.
Leard Dissertation. (2023). Total population sampling. Retrieved from https:// dissertation.laerd.com/total-population-sampling.php
Luo, H. L. & Limpapath, P. (2016). Attitudes towards Chinese language learning: a case of Thai senior high school students at a private school in Bangkok. Bu Academic Review, 15(2), 103-112.
Moore, K. D. (2009). Effective instructional strategies: from theory to practice. United States of America : Sage Publications.
Walker, C. O., Greene, B. A. & Mansell, R. A. (2007). Identification with academics, intrinsic/extrinsic motivation, and self-efficacy as predictors of cognitive engagement. Learning and Individual Differences, 16, 1-12.