มรดกภูมิปัญญาผ้าไหมยกทองสุรินทร์ : อนุรักษ์ พัฒนาและถ่ายทอดเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาผ้าไหมยกทอง 2) พัฒนาศักยภาพช่างทอผ้าไหม 3) อนุรักษ์และสืบสานการทอผ้าไหมยกทองเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยวิจัยเชิงปฏิบัติการกับช่างทอ 50 คน วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ วิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลกับช่างทอผ้าไหม 50 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา วิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง 400 คน จากประชากร 1,381,761 คน วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางทาโรยามาเน่ เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ความรู้ภูมิปัญญาผ้าไหมยกทองสุรินทร์ เป็นมรดกภูมิปัญญาที่มีกรรมวิธีการผลิตประณีต “การยกทอง” มีเทคนิคการทอใช้ตะกอเส้นพุ่งพิเศษทำจากทองแท้มารีดเป็นเส้นเล็ก ๆ ปั่นควบกับเส้นด้ายทำให้เกิดลาย 1,416-2,600 ตะกอ ใช้คนทอ 4-5 คนต่อผืน ผ้าไหม 2 เมตรใช้เวลา 2 เดือน หนึ่งผืนมีราคาหลักหมื่นถึงหลักแสนบาท 2) การพัฒนาศักยภาพช่างทอผ้าไหมยกทอง ได้อบรมเทคนิคทำผ้าไหมเพื่อพัฒนาทักษะสร้างลายอัตลักษณ์ต้นแบบ คือ ลายผ้าไหมโดดเด่น 17 อำเภอ ผ้าไหมยกทอง 3 ชนเผ่า และลายผ้าไหมยกทองเอกลักษณ์สุรินทร์ ได้พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ผ้าไหมยกทอง 3 แห่ง ศูนย์เรียนรู้ย้อมสีธรรมชาติ 2 แห่ง การนำผ้าไหมมาขายที่ศูนย์เรียนรู้ ตลาด สร้างรายได้และเศรษฐกิจให้กับชุมชน และ 3) การอนุรักษ์และสืบสานทอผ้าไหมยกทอง ได้จัดทำชุดความรู้, นิทรรศการ, เดินแบบผ้าไหม, แผนที่ภูมิปัญญา ความคิดเห็นโดยรวมต่อการอนุรักษ์พัฒนาช่างทอผ้าไหมอยู่ในระดับมาก ด้านอนุรักษ์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านเศรษฐกิจ ด้านท่องเที่ยว และด้านสังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น
References
กฤตติกา แสนโภชน์ และบุษกร สุขแสน (2562). ปัญหาและความต้องการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(2), 47-60.
นงเยาว์ ทรงวิชา. (2565, ตุลาคม 12 ). ภูมิปัญญาผ้าไหม บ้านนาตัง อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. (สิริพัฒถ์ ลาภจิตร, ผู้สัมภาษณ์).
ประการ คุณารักษ์. (2545). กระบวนการถ่ายทอดความรู้การทอผ้าไหม กรณีการทอผ้าไหม บ้านตาหยวก ตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปิลันลน์ ปุณญประภา พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ, นพดล อินทร์จันทร์ และ กิตติกรณ์ นพอุดมพันธ์. (2561). ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาต่อภูมิปัญญาและการสืบทอดผ้าทอไทยพวน บ้านใหม่ จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 159-168.
พิชญาภรณ์ บัวสระ, ธนกฤต ทุริสุทธิ์ และกฤตติกา แสนโภชน์. (2562). ยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทอพื้นเมืองของกลุ่มทอผ้า จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 5259-5271.
มาริสสา อินทรเกิด, ชรินพร งามกลม และวิชุตา อยู่ยงค์. (2561). การอนุรักษ์และสืบสานการทอผ้าไหมมัดหมี่ซิ่นตีนแดงของชุมชนบ้านหัวสะพาน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 10(1), 141-154.
เมธ์วดี พยัฆประโคน. (2558). ช่างทอผ้าพื้นบ้านกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 3(2), 16-24.
สรัญญา แปะทอง. (2544). กลยุทธ์การตลาดผ้าไหม กรณีศึกษาศูนย์ศิลปะหัตกรรมบ้านสามโคตำบลปราสาททอง กิ่งอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์. (2562). ผ้าไหมสุรินทร์. สุรินทร์ : สำนักวัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์.
สุดใจ สะอาดยิ่ง. (2565, ตุลาคม 2). มรดกภูมิปัญญาผ้าไหมยกทองสุรินทร์. (สิริพัฒถ์ ลาภจิตร, ผู้สัมภาษณ์).
สุริยา คลังฤทธิ์. (2560). อัตลักษณ์ภูมิปัญญาลวดลายผ้าไหมพื้นเมืองกลุ่มชาติพันธุ์เขมรเมืองสุรินทร์. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 7(1), 186-199.
อลิศรา ธรรมบุตร, พัชราวรรณ อาจหาญ และทัศนียา นิลฤทธิ์. (2564). กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดผ้าไหมทอมือพื้นถิ่นจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการเทคโนโลยีการจัดการ, 2(2), 1-13.